แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง

ผู้แต่ง

  • อนุตตรีย์ ดิษเจริญ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • อ้อมธจิต แป้นศรี มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี, เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง โดยมีการดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 160 คน การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน และเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ซึ่งมีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า   5 ระดับ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา       

ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ พบว่า ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ การสร้างวัฒนธรรมการทำงานแบบทีม การยอมรับและปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร การพัฒนาทักษะการสื่อสาร การเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์สำหรับผู้นำในยุคดิจิทัล และการบริหารด้วยความเข้าอกเข้าใจในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง 2) ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วย 7 ด้าน ซึ่งผู้วิจัยวิเคราะห์เนื้อหา โดยแต่ละด้านมีจำนวน 3 แนวทาง รวมทั้งสิ้น 21 แนวทาง

References

กัญญารัตน์ สุขแสน. (2564). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้านดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์แลมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(7), 152-169.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2566). การพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาไทยในยุค AI. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา.

เจษฎา ชวนะไพศาล. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตทวารวดีสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2563). การพัฒนาผู้นำทางเทคโนโลยีเพื่อสร้างวัฒนธรรมการใช้เทคโนโลยีในสถานศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 18(1), 1-15.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2561). การพัฒนาอีเลิร์นนิงแพลตฟอร์มโดยใช้แนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดและแก้ปัญหาเชิงนวัตกรรม. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(2), 1-11.

เทียมยศ ปะสาวะโน. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิสรัปชั่น : กรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคเหนือ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 22(1), 112-129.

ประภาศรี อุ่นอบ. (2565). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากับการสร้างวัฒนธรรมการทำงานร่วมกันของครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 6(2), 89-105.

พรวิภา เชยกลิ่น. (2566). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พสุ เดชะรินทร์. (2566). ผู้นำยุค AI จะต้องทำอะไรบ้าง. เรียกใช้เมื่อ 19 สิงหาคม 2567 จาก https://www.bangkokbiznews.com/tech/innovation/1070929

ศิริพร เสริตานนท์. (2564). การเปลี่ยนผ่านวัฒนธรรมองค์กรสู่ดิจิทัลของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในภาคเหนือ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 22(2), 98-115.

สมชาย เทพแสง และคณะ (2566). ภาวะผู้นําพลวัตร (Dynamic Leadership) : ภาวะผู้นําเชิงรุกมุ่งสู่คุณภาพขององค์กรในยุคปัญญาประดิษฐ์ (AI). วารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษา, 2(2), 1-16.

สโรจ เลาหศิริ. (2566). 5 ทักษะที่จำเป็นของผู้นำรุ่นใหม่ในการทำงานในโลกที่จะเต็มไปด้วย AI. เรียกใช้เมื่อ 19 สิงหาคม 2567 จาก https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/tips-for-you/new-leader-skill.html.

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2567). 5 ทักษะสำคัญที่ผู้นำรุ่นใหม่ต้องมีเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรม นำทีม และสร้างผลงานโดดเด่นในยุค AI. เรียกใช้เมื่อ 19 สิงหาคม 2567 จาก https://partnership.thaihealth.or.th/5-ทักษะสำคัญที่ผู้นำ.

สำนักงานศึกษาธิการภาค 17. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาภาคเหนือ พ.ศ. 2566-2570. สำนักพิมพ์ศึกษาธิการภาค 17.

สุทธิโสพรรณ ช่วยวงศ์ญาติ. (2566). Leadership and AI. เรียกใช้เมื่อ 19 สิงหาคม 2567 จาก https://www.slingshot.co.th/th/blog/leadership-and-ai.

สุมาลี ชัยเจริญ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการสื่อสารกับความสำเร็จในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดพิษณุโลกและสุโขทัย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 11(2), 102-116.

สุวิทย์ มูลคำ และคณะ. (2566). การสำรวจสภาพปัญหาการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 25(2), 125-140.

อัสนี โปราณานนท์. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยพะเยา.

Aepiphanni. (2023). Technology leadership: Setting standards, indicators, and collaborative rewards for staff motivation. Retrieved September 20, 2024, from https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC4936491.

Flanagan, L., & Jacobsen, M. (2003). Technology leadership for the twenty-first century principal. Journal of Educational Administration, 41(2), 124-142.

Holmes, W. (2019). Artificial intelligence in education: Promises and implications for teaching and learning. Center for Curriculum Redesign. Retrieved September 20, 2024, from https://blog.cloudhm.co.th/what-is-ai.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-28