การพัฒนาความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะนิทานพื้นบ้านม้งร่วมกับกลวิธีการสอนอ่านแบบเมตาคอกนิชัน

ผู้แต่ง

  • ศราวุฒิ พรมชมพู มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • อ้อมธจิต แป้นศรี มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การอ่านเชิงวิเคราะห์, แบบฝึกทักษะ, เมตาคอกนิชัน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ก่อนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะนิทานพื้นบ้านม้งร่วมกับกลวิธีการสอนอ่านแบบเมตาคอกนิชัน 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ ระหว่างหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะนิทานพื้นบ้านม้งร่วมกับกลวิธีการสอนอ่านแบบเมตาคอกนิชัน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนรวมไทยพัฒนา 5 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 35 ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยการใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม  เครื่องมือ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบฝึกทักษะนิทานพื้นบ้านม้ง 3) แบบทดสอบ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบ่งเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 พบว่า นักเรียนมีคะแนนหลังเรียนเฉลี่ย สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

References

กานต์ทิมา โพธิ์งาม. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาไทย โดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชันเพื่อเพิ่มความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. จังหวัดศรีสะเกษ : โรงเรียนราศีไศล.

จินตนา มั่นคง. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เจนจิรา ยลพล. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการอ่านเชิงวิเคราะห์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบหมวกหกใบ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ใน ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ภาชินี เต็มรัตน์ และกษมา สุรสิทธิ์ (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้ชุดการเรียนรู้นิทานพื้นบ้านจังหวัดสงขลาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 11(น.406-407). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

รัศมี แสนดี. (2561). พัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. โรงเรียนบ้านสุขสำราญ จังหวัดอุบลราชธานี.

สมเจตน์ พันธ์พรม (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการสอนอ่านแบบเมตาคอกนิชัน และการส่งเสริมต่อการเรียนรู้ เพิ่มเสริมสร้างความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. ใน ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการสอน. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

อมรรัตน์ สุวรรณศรี (2562). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้นิทานพื้นบ้านอีสาน เรื่อง หลวงพ่อ กับเณรน้อย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. เลย : โรงเรียนเหมืองแบ่งวิทยาคม.

อิงฟ้า ทองทรง. (2566). การพัฒนาความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้SQP2RS ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด. ใน ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการสอน. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-28