ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมในการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร

ผู้แต่ง

  • รพีพัฒน์ ชูเมือง มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ปัญญาประดิษฐ์, ความพร้อมในการใช้ปัญญาประดิษฐ์, ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อม ในการใช้ปัญญาประดิษฐ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความพร้อมในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ 2) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลความพร้อมในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ กับความพร้อมในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ 4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 278 คน กำหนดขนาดกลุ่ม ตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และ สัมประสิทธ์ถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาความพร้อมในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านกลยุทธ์องค์กร 2) ผลการศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านประโยชน์การใช้งาน 3) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ พบว่าปัจจัยที่ที่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูงที่สุด ได้แก่ ด้านการสนับสนุนขององค์กร 4) ผลการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณแบบปกติของปัจจัยส่งผลต่อความพร้อมในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พบว่าปัจจัยที่สามารถนำไปสร้างสมการพยากรณ์ ประกอบด้วย 2 ปัจจัย ได้แก่ ด้านประโยชน์ในการใช้งาน และด้านการสนับสนุนขององค์กร สามารถเขียนสมการพยากรณ์ ดังนี้

 

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร: เทพนิรมิตรการพิมพ์.

พระครูปลัดจักรพล สิริธโร. (2567). การใช้เทคโนโลยี AI ในการเรียนการสอนแบบปรับเหมาะ(Adaptive Learning), วารสารวิชาการจินตาสิทธิ์, 2 (3), 208-218.

วราพร นาคประทุม และ ดั้นดุสิต โปราณานนท์. (2564). ความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติที่มีผลต่อความพร้อมในการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ในการบริหารโครงการ, วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 18 (2), 1-25.

วุฒิชัย ดานะ. (2566). จริยธรรมในยุคปัญญาประดิษฐ์:การเตรียมนักเรียนสำหรับอนาคต, วารสารวิชาการจินตาสิทธิ์, 1 (3), 167-178.

สุทัศน์ กำมณี, ณรงค์เดช รัตนานนท์เสถียร และขวัญนรี กล้าปราบโจร. (2566). การพัฒนารูปแบบเพื่อเพิ่มทักษะด้านการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ในการเพิ่มมูลค่าให้กับงานและความสามารถในการทำงานของแรงงานจังหวัดกาญจนบุรี, Journal of Administrative and Management Innovation, 11 (1), 45-53.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร. (2567). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568, https://sesaopc.go.th.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโลยีแห่งชาติ. (2566).ประเมินความพร้อมขององค์กรในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI). เรียกใช้เมื่อ 15 มีนาคม 2568 จาก https://www.etda.or.th/th/Our-Service/AIGC/AI_Readiness.aspx.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2568). คู่มือการใช้ AI สำหรับครู นักเรียน และผู้ปกครองในประเทศไทย พ.ศ. 2568.

สว่างนภา ต่วนภูษา. (2567). ปัญญาประดิษฐ์เพื่อการบริหารการศึกษายุคดิจิทัล, วารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์, 2 (3), 52-62.

อัญชลี เผือกหอม, พงศพัฒน์ ตันติศิวกุล และฉัตรชัย อังสุเชษฐานนท์. (2567). การเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสู่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ในการบริการของภาครัฐ, Journal of Spatial Development and Policy, 2 (1), 47-64.

Alsheibani, Sulaiman; Messom, Chris; Cheung, Yen; and Alhosni, Mazoon.(2020). Artificial Intelligence Beyond the Hype: Exploring the Organisation Adoption Factors. ACIS 2020 Proceedings. 33. https://aisel.aisnet.org/acis2020/33.

Badiah N. M. Alnasib. (2023). Factors Affecting Faculty Member’ Readiness to Integrate Artificial Intelligence into Their Teaching Practices: A Study from the Saudi Higher Education Context, International Journal of Learning, Teaching and Educational Research, 22 (8), 465-491.

David Hradecky, James Kennell, Wenjie Cai and Rob Davidson. (2565). Organizational readiness to adopt artificial intelligence in the exhibition sector in Western Europe, International Journal of Information Management, Volume 65, 102497, ISSN 0268-4012.

.

DIA. (2567). AI กับการศึกษา ตัวช่วยสุดอัจฉริยะ เพื่อมิติใหม่แห่งการเรียนรู้ที่ดีกว่า. เรียกใช้เมื่อ 15 มีนาคม 2567 จาก https://www.dia.co.th/articles/ai-in-education.

Felemban, H., Sohail, M., & Ruikar, K. (2024). Exploring the Readiness of Organisations to Adopt Artificial Intelligence. Buildings.

Handayani, E. S., Ramadhani, Q. A., Rozan, A. N. M., & Azmi, M. (2024). The Use of Artificial Intelligence (AI) among International Class Program Students and Its Implication in Their Learning, 9(1), 635.

Issa, Helmi & Jabbouri, Rachid & Palmer, Mark. (2022). An artificial intelligence (AI)-readiness and adoption framework for AgriTech firms," Technological Forecasting and Social Change, Elsevier, vol. 182(C).

Krejcie, R. & Morgan, D. (1970). Determining sample sizes for research activities.” Educational and Psychological Measurement, 30: 607-610.

Kelm, K., & Johann, M. (2024). Artificial intelligence in corporate communications: determinants of acceptance and transformative processes. Corporate Communications: An International Journal.

Mishra, V. (2024). Five Dimensions of AI Readiness (AIR-5D) Framework- A Preparedness Assessment Tool for Healthcare Organizations. Hospital Topics, 1–8. https://doi.org/10.1080/00185868.2024.2427641

Pathak, A., & Bansal, V. (2023). Factors Influencing the Readiness for Artificial Intelligence Adoption in Indian Insurance Organizations (pp. 43–55). Springer Science+Business Media.

Raj, R. T., & Suryanarayana, N. R. (2025). Artificial Intelligence in Corporate Finance - Transforming Financial Strategies for Startups: A Systematic Review. Asian Journal of Economics, Business and Accounting, 25(1), 265–275. https://doi.org/10.9734/ajeba/2025/v25i11648.

Rane, N., Choudhary, S. P., & Rane, J. (2024). Acceptance of artificial intelligence: key factors, challenges, and implementation strategies. Journal of Applied Artificial Intelligence, 5(2), 50–70.

Trí, C. M., & Nguyen, L. (2024). Factors affecting artificial intelligence (AI) adoption in the talent acquisition process: the case of Vietnam’s medium-sized firms. Journal of Asia Business Studies.

Weinert L, Müller J, Svensson L, Heinze O. (2022) Perspective of InformationTechnology Decision Makers on Factors Influencing Adoption and Implementation of Artificial Intelligence Technologies in 40 German Hospitals: Descriptive Analysis. JMIR Med Inform. 10(6).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-28