การประยุกต์ใช้หลักพุทธจิตวิทยาเพื่อเยียวยาพระสงฆ์ไทยที่มีภาวะซึมเศร้า

Main Article Content

วุฒิชัย อุทธาพงษ์
สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์

บทคัดย่อ

ภาวะซึมเศร้าเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้ในประชากรทุกเพศ ทุกวัย รวมถึงประชากรกลุ่มพระสงฆ์ โดยเฉพาะกลุ่มพระสงฆ์ที่มีจำนวนพรรษาระหว่าง 11-15 พรรษาซึ่งพบว่าเป็นกลุ่มมีภาวะซึมเศร้ามากที่สุด การเยียวยาภาวะซึมเศร้าในกลุ่มพระสงฆ์ไทย ตามหลักพุทธธรรมจะเน้นการคิดพิจารณาถึงเหตุและผลตามหลัก “โยนิโสมนสิการ” ร่วมกับการทำสมาธิบำบัด และสำหรับกลุ่มที่มีอาการรุนแรงการให้การเยียวยารักษาจะใช้การรักษาโดยการใช้ยาร่วมกับการให้การปรึกษาทางด้านจิตวิทยา เป็นต้น อย่างไรก็ตามแนวทางการเยียวยาภาวะซึมเศร้าดังกล่าวในทางปฏิบัติอาจมีข้อจำกัดในด้านเวลา และปัจจัยที่ต้องใช้สำหรับการรักษา ผู้นิพนธ์จึงมีความสนใจที่นำเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้แนวคิด เอส โอ ซี (SOC) ได้แก่ กระบวนการเลือก (Selection) การทดแทน (Compensation) และ การใช้ประโยชน์ (Optimization) ร่วมกับหลักพุทธธรรม“โยนิโสมนสิการ” ที่มีขั้นตอนในการเยียวยาและลดภาวะซึมเศร้าในพระสงฆ์ ประกอบด้วย การคิดพิจารณาเหตุปัจจัยแห่งความทุกข์ การประเมินตนเองและการตั้งเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การกำหนดสภาวะจิตและพิจารณาแนวทางการปฏิบัติ และกำหนดแนวทางในการเลือก การใช้ประโยชน์สูงสุด และการทดแทน เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสามารถรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยการใช้ปัญญา ซึ่งจะเป็นแนวทางสำหรับนำไปใช้เพื่อเยียวยาและป้องกันภาวะซึมเศร้าของพระสงฆ์ไทย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงสาธารณสุข, กรมสุขภาพจิต. (2565).รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2565.

https://dmh.go.th/report/dmh/rpt_year/dl.asp?id=463

ธวัลรัตน์ ศรีวิลาศ, นันทิกา ทวิชาชาติ.(2556). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในพระภิกษุสูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์เวชสาร .57(1): 93 – 105.

อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย และพีรพนธ์ลือบุญธวัชชัย. (2553). การบำบัดรักษาทาง จิตสังคมสำหรับโรคซึมเศร้า.กรุงเทพฯ:ธนาเพรส.

มาโนช หล่อตระกูล และ ปราโมทย์ สุคนิชย์. (2558). จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์คณะ แพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล

พระมหาพรเทพ อุตฺตโม (เดชประสาท). (2554). การศึกษาวิเคราะห์วิธีบําบัดโรคซึมเศร้าตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ชำระ-เพิ่มเติม ช่วงที่ 1). พิมพ์ครั้งที่ 27. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

ลินดา สุวรรณดี. (2563). การพัฒนากลยุทธ์ทางปัญญาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารจัดการชีวิตตามแนวเอสโอซี (SOC) ของนักศึกษาจีนมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต: กรณีมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. [วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

Freund, A. M., & Baltes, P. B. (2002). Life-management strategies of selection, optimization and compensation: Measurement by self-report and construct validity. Journal of Personality and Social Psychology, 82, 642–662. https://doi.org/10.1037/0022-3514.82.4.642