ความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล และลักษณะมุ่งอนาคต-ควบคุมตน กับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่ง จังหวัดชุมพร

Main Article Content

ปิยะธิดา แล่เขียว
อธิวัฒน์ รัตนวงศ์แข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียน 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนจำแนกตามอัตลักษณ์ทางเพศ และ ระดับชั้น และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผลและลักษณะมุ่งอนาคต–ควบคุมตน กับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 241 คน จากโรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่ง จังหวัดชุมพร เครื่องมือที่ใช้ในในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล แบบสอบถามลักษณะมุ่งอนาคต - ควบคุมตน และแบบสอบถามพฤติกรรมเชิงจริยธรรม  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมทั้ง 4 ด้าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายอยู่ในระดับ มาก ทุกด้าน โดยค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ( gif.latex?\bar{x}  = 4.38, S.D. = 0.49 รองลงมา ด้านความกตัญญูกตเวที ( gif.latex?\bar{x} = 4.38, S.D. = 0.72) ด้านความมีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบ ( gif.latex?\bar{x} = 4.01, S.D. = 0.60) และด้านใฝ่รู้ ( gif.latex?\bar{x} = 3.71, S.D. = 0.66) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.10 S.D. = 0.58) อยู่ในระดับมาก 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเพศหญิงมีพฤติกรรมเชิงจริยธรรมสูงกว่านักเรียนเพศชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และพฤติกรรมจริยธรรมของระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 สูงกว่า ชั้นปีที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) การอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .395 และ 4) ลักษณะมุ่งอนาคต-ควบคุมตน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .426

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ก่อเกียรติ ประวัติ. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนยายนาเวศวิทยาคม กรุงเทพมหานคร. โครงงานพิเศษทางจิตวิทยา ปริญญาศิลปศาสตร บัณทิต (จิตวิทยา). มหาวิทยาลัยเกษมบัณทิต

คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2562). Gender Role – บทบาททางเพศ. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน

จาก https://www.psy.chula.ac.th/th/feature-articles/gender-role.

ชนิสรา ศิลานุกิจ. (2550). การศึกษาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนช่วงชั้นที่3 โรงเรียนสาธิต

มหาวิทยาลัยรามคําแหง. วารสารวิจัยรามคําแหง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการเขียนเค้าโครงการวิจัย : แนวทางสู่ความสำเร็จ. (พิมพ์ครั้งที่2). ไทเนรมิตกิจ ฮันเตอร์ โปรเกรสซิฟ

เติมศักดิ์ คทวณิช. (2546). จิตวิทยาทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่2). ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ธนาวุฒิ สิงห์สถิตย์. (2565). สุขภาพจิตและความหลายหลายทางเพศของนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขภาพจิต ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ธิรดา สุวัณณะศรี. (2566). ศักยภาพของสมองระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2566.

จาก https://www.novabizz.com/NovaAce/Physical/สมองผู้หญิงกับผู้ชาย.htm.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. สถาบันราชภัฏอุบล

ราชธาณี

นิพนธ์ สิงห์แดง. (2557). พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตตำบลเชียงกลม

อำเภอปากชม จังหวัดเลย. สารนิพนธ์. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณทิต. มหาวิทยาลัย

นอร์ทกรุงเทพ

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2551). จริยธรรมธุรกิจ: Business ethics (พิมพ์ครั้งที่2 ปรับปรุงใหม่).

ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.

พนิตา ม่วงสุวรรณ. (2561).การอบรมเลี้ยงดู แบบมีเหตุผล ลักษณะมุ่งอนาคต กับพฤติกรรมเชิงจริยธรรม

ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนคลองปลัดตัน (มีสุวรรณอนุสรณ์). โครงงานพิเศษทางจิตวิทยา ปริญญาศิลปศาสตรบัณทิต (จิตวิทยา). มหาวิทยาลัยเกษมบัณทิต

พระครูสังฆรักษ์จรัญ จุ่นดีวงษ์ และลุยงวีระนาวิน (2553). พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการวิถีพุทธสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย.มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระกิตติสุวัฒนาภรณ์ (บุญเพิ่ม ดอนเจดีย์). (2557). พฤติกรรมจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณทิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

พิภพ วชังเงิน. (2549). จริยธรรมทางธุรกิจ. กศ.บ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น (1977) จำกัด

วัลย์ลดา ภวภูตานนท์ (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้พฤติกรรมเชิงจริยธรรมตามโมเดลต้นไม้จริยธรรมของของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สารัช ม่วงสัมฤทธิ์. (2559). การอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล แรงจูงใจฝาสัมฤทธิ์ กับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษมบัณทิต. โครงงานพิเศษทางจิตวิทยา ปริญญาศิลปศาสตรบัณทิต (จิตวิทยา).มหาวิทยาลัยเกษมบัณทิต

สิทธิโชค วรานุสันติกูล. (2546). จิตวิทยาสังคมและทฤษฎีการประยุกต์ กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สุภาพร พิศาลบุตร. (2549). จริยธรรมทางธุรกิจ. (พิมพ์ครั้งที่ 18). วิรัตน์ เอ็ดดูเคชั่นจำกัด.

สุรีย์พร แซ่เอี๊ยบ และ พลพจน์ เชาว์วิวัฒน์. (2561). การเสริมสร้างพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านจิตสาธารณะในสังคมไทยด้วยหลักสังคหวัตถุ 4. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์ 13(38): 1-14