การพัฒนาตนของนักจิตวิทยาการปรึกษา กับวิถีปฎิบัติสติตามแนวทางของท่านติช นัท ฮันห์

Main Article Content

ธีรวรรณ ธีระพงษ์

บทคัดย่อ

ช่วงเวลาที่ผ่านมาการศึกษาวิจัยเชิงประจักษ์หลายเรื่องได้บ่งชี้ว่าการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและจิตบำบัดก่อให้เกิดผลลัพธ์เชิงบวกต่อผู้มารับบริการ โดยนักจิตวิทยาการปรึกษานับเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญ  ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของผู้มารับบริการและประสิทธิภาพของการปรึกษาเชิงจิตวิทยา  ปัจจุบันการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและจิตบำบัดได้มีการนำแนวคิดและวิถีการฝึกฝนทางจิตวิญญาณในแนวคิดตะวันออก เช่น การฝึกเจริญสติและการภาวนาในวิถีทางของพระพุทธศาสนามาใช้ในการพัฒนาคุณภาพจิตใจของผู้มาปรึกษา โดยเฉพาะความรู้ที่เป็นวิถีปฎิบัติสติตามแนวทางของท่านติช นัท ฮันห์  ผ่านมุมมองธรรมชาติของจิตใจที่ดีงามพร้อมเติบโต  การภาวนา  การเจริญสติในชีวิตประจำวัน และการเพาะบ่มสันติสุขในการอยู่ร่วมกัน  ซึ่งวิถีปฎิบัติเหล่านี้ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพจิตใจของผู้คนได้อย่างสอดคล้องกลมกลืนกับวิถีชีวิตในปัจจุบัน บทความนี้จึงได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาตนเองของนักจิตวิทยาการปรึกษาเทียบเคียงกับวิถีปฏิบัติของท่านติช นัท ฮันห์ เพื่อความรู้ดังกล่าวจะได้เป็นแนวทางให้นักจิตวิทยาการปรึกษาที่สนใจได้นำความรู้เหล่านี้ไปใช้ในการพัฒนาตนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ติช นัท ฮันห์. (2531). เธอคือศานติ: ลำนำแห่งลมหายใจและรอยยิ้ม. (สันติสุข โสภณสิริ, ผู้แปล).. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

ติช นัท ฮันห์. (2537). ศานติในเรือนใจ: เรียนรู้ศิลปะการดำเนินชีวิตอย่างมีสติและผาสุก. (ธีรเดช อุทัยวิทยารัตน์, ผู้แปล). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

ติช นัท ฮันห์. (2539). วิถีแห่งบัวบาน: บทภาวนาเพื่อการบำบัดและการเปลี่ยนแปร. (สุภาพร พงศ์พฤกษ์, ผู้แปล). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศยาม.

ติช นัท ฮันห์. (ม.ป.ป.). ปาฎิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). (พระประชา

ปสนฺนธมฺโม, ผู้แปล). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

Bazzano, M. (2010). Mindfulness in context. Therapy Today, 21(3), 32-36.

Brito, G. (2014). Rethinking mindfulness in the therapeutic relationship. Mindfulness, 5(4), 351-359. https://doi.org/10.1007/s12671-012-0186-2

Corey, G. (1996). Theory and practice of counseling and psychotherapy. 5th ed. Pacific Grove: Brooks/Cole.

Martin, J. R. (1997). Mindfulness: A proposed common factor. Journal of Psychotherapy Integration, 7(4), 291-312. https://doi.org/10.1023/B:JOPI.0000010885.18025.bc

Muramoto, S. (1985). Buddhism and psychotherapy in the world today. Psychologia, 28, 101-114.

Nissanka, H. S. S. (1993). Buddhist Psychotherapy: An eastern therapeutical approach to mental problems. Delhi: Ram Printograph.

Ornish, D. (1998). Love and survival: Eight part ways to intimacy and health. New York: HarperCollins.

Punnaji, B. (2003). Buddhism as a psychotherapy (Adapted from the transcription of a Dhamma talk). Retrieved September 20, 2003, from http://members.rogers.com/ wisdom.tor/articles/vol5.1/buddhism as_psychotherapy1.htm

Rogers, C. R. (1961). On becoming a person: A therapist’s view of psychotherapy. Boston: Houghton Mifflin.

Rogers, C. R. (1975). Empathic: An unappreciated way of being. Counseling Psychologist, 5, 2-9.

Schure, M. B., Christopher, J., & Christopher, S. (2008). Mind-body medicine and the art of self-care: Teaching mindfulness to counseling students through yoga, meditation, and Qigong. Journal of Counseling & Development, 86(1), 47-56. https://doi.org/10.1002/j.1556-6678.2008.tb00625.x