การเห็นคุณค่าในตนเองและวิธีการเผชิญความเครียดที่ส่งผลต่อความเครียดในการเรียนของนิสิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

Main Article Content

เบญญาภา ตันเจริญ
จิดาภา เสนวิรัช
ฉัตรชนก สกุลชัยบงกช
ณัชชา จันทาไทย
นรุตม์ พรประสิทธิ์
สำเนียง เพชรจอม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


ปัจจุบันสังคมไทยให้ความสำคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมาก ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่องทางการศึกษา นิสิตถือเป็นวัยที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในชีวิตมากมาย รวมถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านการเรียน ก่อให้นิสิตเกิดความเครียดในการเรียน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทำนายความเครียดในการเรียน ด้วยการเห็นคุณค่าในตนเองและวิธีการเผชิญความเครียด กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตคณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน จำนวน 208 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการเห็นคุณค่าในตนเอง แบบสอบถามวิธีการเผชิญความเครียด และแบบสอบถามความเครียดในการเรียน มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง .82 - .93 ผลวิจัยพบว่า การเห็นคุณค่าในตนเองเป็นตัวทำนายเชิงลบต่อความเครียดในการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่า β = -.464, p < .001) การเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ไขปัญหา และแบบมุ่งแก้ไขอารมณ์ไม่สามารถเป็นตัวทำนายต่อความเครียดในการเรียน จากผลการศึกษาในครั้งนี้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นข้อมูล เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาลดความเครียดในการเรียนของนิสิตระดับปริญญาตรีได้ต่อไป

Article Details

How to Cite
ตันเจริญ เ. ., เสนวิรัช จ., สกุลชัยบงกช ฉ. ., จันทาไทย ณ. ., พรประสิทธิ์ น. ., & เพชรจอม ส. . (2025). การเห็นคุณค่าในตนเองและวิธีการเผชิญความเครียดที่ส่งผลต่อความเครียดในการเรียนของนิสิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน. วารสารจิตวิทยา, 22(2), 32–46. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JPsychol/article/view/6218
บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

จันทรา อุ้ยเอ้ย และวรรณกร พลพิชัย. (2561). การศึกษาความเครียดและวิธีการเผชิญความเครียดของ

นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในอำเภอเมือง จังหวัดตรัง. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 10(ฉบับพิเศษ), 94-105.

นิธิสนี รุจิรังสีเจริญ, นิดา ลิ้มสุวรรณ, ศิริไชย หงษ์สงวนศรี, และ บัญญัติ ยงย่วน. (2564). ปัจจัยที่สัมพันธ์

กับระดับความเครียดของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมจิตแพทย์

แห่งประเทศไทย, 66(1), 53-68.

ปริญญา หวันเหล็ม และ ชาคินัย หมีเทศ. (2554). การบูรณาการเพื่อสร้างคุณค่าในตนเองสำหรับผู้สูงอายุ

ในศตวรรษที่ 21 ผ่านรูปแบบอาสาสมัครดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลปลักแรด

อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิเทศศึกษา, 12(1). 89-116.

พิชญา สุรพลชัย. (2566). โครงการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัย

สังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. https://dol.thaihealth.or.th/Media/Pdfview/87a526d4-e2b0-ed11-80fd-00155d1aab66

พิมพ์ชนก วชิรปราการสกุล. (2564). การเห็นคุณค่าในตนเองและความรู้สึกเครียดในนิสิตคณะสัตว

แพทยศาสตร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

https://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1084

สุภาภัทร ทนเถื่อน. (2553). การศึกษาความเครียดและวิธีเผชิญความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอน

ปลาย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

แสงรุ้ง สุขจิระทวี. (2551). ความเครียด การเผชิญความเครียด ปัจจัยส่วนบุคคล และคุณภาพชีวิตของ

ผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ได้รับยาเคมีบำบัด. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

https://doi.org/10.14457/MU.the.2008.235

อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2555). การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับความเครียดและการเผชิญความเครียด

ของคนไทย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 14(1), 135-150.

Alla K. Bolotova, & Milana R. Hachaturova. (2013). The role of time perspective in coping

behavior. Psychology in Russia State of Art. 6(3), 120-131.

https://doi.org/0.11621/pir.2013.0311

Ivancevich, J. M., Konopaske, R., & Matteson, M. T. (2013). Organizational Behavior and

Management (10th ed.). New York: McGraw-Hill Higher Education.

Lazarus, R., & Folkman, S. (1984). Stress appraisal and coping. New York: Springer Publishing

Co.

Rosenberg, M. (1965). Society and the Adolescent Self-Image. United States of America: Quinn &

Boden Company.