กระบวนการให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมในผู้ต้องหา : คลินิกจิตสังคมในระบบศาลยุติธรรม
คำสำคัญ:
คลินิกจิตสังคม, กระบวนการให้คำปรึกษา, ทักษะการให้คำปรึกษาบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
คลินิกจิตสังคม ในระบบศาลยุติธรรม เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้น เพื่อจัดกระบวนการให้คำปรึกษาด้านจิตสังคม ซึ่งเป็นกระบวนการช่วยเหลือ ให้บุคคลได้สำรวจตนเอง จนเกิดความเข้าใจตนเอง และการลงมือปฏิบัติสู่การพัฒนาตนเองได้อย่างเหมาะสมโดยผ่าน แนวคิดรูปแบบการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (และ การสัมภาษณ์เพื่อสร้างแรงจูงใจ ให้แก่ผู้ต้องหาหรือจำเลย ในคดีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด คดีความรุนแรงในครอบครัว และ คดีอาญาที่มีโทษไม่ร้ายแรงทำให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ได้มีแนวทางการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องเหมาะสม การให้ความช่วยเหลือผู้ต้องหาหรือจำเลย ครอบคลุมช่วงวิกฤติของชีวิต ในหลาย ๆ ด้าน เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาทางการทำงาน ปัญหาที่เกิดจากความคิดความรู้สึกที่ลดคุณค่าในตนเอง การกล่าวโทษตนเอง เป็นต้น เนื่องจากประสบการณ์ และ ความคิดของผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอาจจะยังไม่สามารถจัดการหรือแก้ปัญหาให้กับตนเองได้อย่างเหมาะสมดังนั้นผู้ต้องหาหรือจำเลยจึงต้องได้รับกระบวนการให้คำปรึกษาด้านจิตสังคม การให้คำแนะนำจาก นักจิตวิทยา หรือ นักสังคมสงเคราะห์ และ ผู้ให้คำปรึกษา ที่สามารถสร้างความไว้วางใจ และ ให้คำแนะนำให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยเชื่อมั่นว่าจะสามารถช่วยเหลือตนในการแก้ปัญหาได้ แต่การให้คำปรึกษาที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยหลักการทางจิตวิทยาในการให้การปรึกษารวมถึงทักษะในการให้คำปรึกษาอื่นร่วมด้วยจะช่วยให้ผู้ให้คำปรึกษา สามารถพูดคุย ติดตาม เรื่องราวจากผู้ต้องหาหรือจำเลย ส่งผลให้ ผู้ต้องหาหรือจำเลยเกิดความรู้สึกผ่อนคลาย มีทัศนคติที่ดี และสามารถมองเห็นแนวทางในการรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้น และตัดสินใจแก้ปัญหาของตนเองได้ ซึ่งนับว่ากระบวนการให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมในครั้งนั้นบรรลุเป้าหมาย
References
เอกสารอ้างอิง
กมล โพธิเย็น. (2564). การให้การปรึกษาทางจิตวิทยา: เครื่องมือสำคัญในการแก้ปัญหาผู้เรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(2), 11-27.
คณิติน จรโคกกรวด. (2564). ผลของการให้การปรึกษารายบุคคลแบบออนไลน์ตามทฤษฎีการปรับความคิดและพฤติกรรมเพื่อลดความเครียด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม). DSpace at Mahasarakham University. http://202.28.34.124/dspace/handle/
/1449
จรัสพิมพ์ วังเย็น. (2564). ผลของการให้คำปรึกษากลุ่มตามแนวพุทธธรรมต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของ
ผู้ต้องขังหญิง เรือนจำกลางเชียงใหม่. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), 14(2), 110-122.
นฤมล พระใหญ่, ทิธิพร ครามานนท์ และ ภาสกร คุ้มศิริ. (2564). การสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ: บทความฟื้นฟูวิชาการ. วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย (Online), 52(1), 62-74.
นันทกา ฟูสีกุล. ( 2560). ผลการให้คำปรึกษาออนไลน์ต่อการลดภาวะความเครียดในนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นิรนาท แสนสา. (2562). หน่วยที่ 5 การพัฒนาทักษะการให้บริการการปรึกษา ใน ประมวลสาระชุดวิชา ประสบการณ์วิชาชีพมหาบัณทิตการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 5-1 (น.10-24). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
พรหมพิริยะ เกิดสันเทียะ.(2563). คลินิกจิตสังคม ศาลอาญาธนบุรี: ผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยตัวชั่วคราว. ดุลพาหนิตยาสารสำนักงานศาลยุติธรรม, 67(2), 29-66.
พลเทพ ศรีทองสุข. (2560). กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์: หลักการและแนวทางในการปฏิบัติต่อการกระทำ ความผิดซ้ำในกลุ่มผู้ต้องขังพักการลงโทษ. Journal of Mental Health of Thailand, 25(2),
-126.
พิมพ์ชนก พุกสุข. (2563, 15 มกราคม). คลินิกจิตสังคมในระบบศาล ความเมตตาที่เยียวยาคนชายขอบ.
The matter. สืบค้นจาก https://thematter.co/brandedcontent/thaihealth-counselingpsychology-01/96637
รติมา คชนันทน์. (2563). การนำหลักอริยสัจ 4 มาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังหญิง เรือนจำจังหวัด ร้อยเอ็ด. Rommayasan, 18(2), 210-222.
สตรีเอวา จำปารัตน์, (2564). คลินิกให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมคดียาเสพติดในระบบศาล. วารสารจิตวิทยา, 19(1), 1–15.
สุมนรัตน์ นิ่มเนติพันธ์. (2563). พัฒนาการและบทบาทของคลินิกจิตสังคมในประเทศไทย. Thai Journal of Nursing Council, 35(1), 26-41.
สมภพ นันทโกวัฒน์. (2560). ผู้ติดเสพต้องการความช่วยเหลือ: คลินิกจิตสังคมมีน้ำหนักน่าเชื่อถือว่าคือคำตอบ. ดุลพาหนิตยาสารสำนักงานศาลยุติธรรม, 64(2), 15-74.
อภิญญา เวชยชัย. (2558). แนวทางการเขียนรายงานการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนามาตราฐานคุณภาพของนักสังคมสงเคราะห์ ใน เอกสารความรู้พื้นฐานด้านสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ (น.299-302). ห้างหุ้นส่วนจำกัด
เทพเพ็ญวานิสย์
American Psychological Association. (1982). Thesaurus of Psychological Index Terms (3rd ed.). American Psychological Association.
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 สมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศไทย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศไทย
ข้อความที่ปรากฎในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศไทย แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว