กระบวนการสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์สบู่จากน้ำผึ้งในชุมชน กรณีศึกษา : กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านควนเถียะ ตำบลนางหลง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างมูลค่าเพิ่ม สภาพปัญหาจากกระบวนการสร้างมูลค่าเพิ่ม และแนวทางการส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์สบู่จากน้ำผึ้งในชุมชน กรณีศึกษา : กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านควนเถียะ ตำบลนางหลง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า
1.กระบวนการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์สบู่จากน้ำผึ้งในชุมชน กรณีศึกษา : กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านควนเถียะ ตำบลนางหลง อำเภอชะอวดจังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า มีกระบวนการสร้างมูลค่าเพิ่ม6 ด้านสำคัญ ดังนี้ คือ 1) สร้างความหลากหลายทางผลิตภัณฑ์ 2) ราคาย่อมเยาครอบคลุมกลุ่มลูกค้ามากขึ้น
3) มีการจำหน่ายสินค้าหลาบช่องทาง เช่น รวมกลุ่ม ออกบูทจำหน่าย และผ่านทางออนไลน์ เป็นต้น
4) ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม ทันสมัย 5) มีกฎ ระเบียบ ในการอยู่ร่วมกัน 6) ใช้น้ำผึ้งแท้เป็นส่วนผสมหลักของผลิตภัณฑ์
2.สภาพปัญหากระบวนการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์สบู่จากน้ำผึ้งในชุมชน กรณีศึกษา :
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านควนเถียะ ตำบลนางหลง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า 1) ขาดการ
ต่อยอด การพัฒนาสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น 2) ขาดทักษะการผลิต และการทำการตลาด 3) ควรมีหน่วยงานสนับสนุนงบประมาณมากขึ้น
3.แนวทางการส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์สบู่จากน้ำผึ้งในชุมชน กรณีศึกษา : กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านควนเถียะ ตำบลนางหลง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า 1) มีแนวทางส่งเสริมจากรัฐ
2) ส่งเสริมการขายออนไลน์ 3) ส่งเสริมการโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ 4)พัฒนาการให้บริการ 5) ควบคุมคุณภาพสินค้า 6) สนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์ชุมชน 7) ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
สรุปได้ว่า การแปรรูปน้ำผึ้งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านควนเถียะ ตำบลนางหลง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ช่วยอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นพร้อมทั้งช่วยเพิ่มมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตรให้กับคนในชุมชน และยังถ่ายทอดองค์ความรู้กับผู้ที่สนใจอีกด้วย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2558). คู่มือมาตรฐานการนวดไทยในสถานพยาบาลภาครัฐ/เอกชนและสถานบริการ/สถานประกอบการ พ.ศ. 2558. เรียกใช้เมื่อ 27 มีนาคม 2560 จาก https://www.dtam.moph.go.th/index.php ?option=com_content&view=article&id=469:pr0246&catid=8&lang=th&Itemid=114
กาญจนรัตน์ รัตนสนธิ. (2544). การส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศสำหรับเยาวชน ไทย : กรณีศึกษา นักศึกษาระดับปริญญาตรี 4 ปี สถาบันราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชณาฎา เวชรังษี. (2562). เลี้ยงผึ้งโพรง ที่ ควนเสาธง. เรียกใช้เมื่อ 27 มีนาคม 2563 จาก https://ref.codi.or.th/public-relations/news/16596-2019-01-29-03-19-29
ฐาปวีส์ คงสุข. (2553). สมุนไพรให้ความงาม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ประพันธ์สาสน์.
ดนัย จันทร์ฉาย. (2547). เจาะลึกการตลาดจาก A ถึง Z: แนวคิดที่ผู้จัดการทุกคนต้องรู้ซึ้ง. กรุงเทพมหานคร: ดีเอ็มจี.
สมฤทัย จิตภักดีบดินทร์. (2545). เครื่องสำอางในชีวิตประจำวัน. ใน เครื่องสำอางที่ใช้ทำความสะอาด. สงขลา: ภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.