ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหาร งานวิชาการยุคปัญญาประดิษฐ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ชลบุรี ระยอง

Main Article Content

นงเยาว์ เรืองบุญส่ง
ธีรังกูร วรบำรุงกุล
เริงวิชญ์ นิลโคตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการยุคปัญญาประดิษฐ์ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการยุคปัญญาประดิษฐ์ และ 4) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการยุคปัญญาประดิษฐ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มประชากรคือผู้บริหาร และข้าราชการครู กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 357 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเทียบหากลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 และตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการยุคปัญญาประดิษฐ์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการยุคปัญญาประดิษฐ์โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กันในทางบวก ระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อประสิทธิผล การบริหารงานวิชาการยุคปัญญาประดิษฐ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการยุคปัญญาประดิษฐ์ ได้ร้อยละ 54.00 สร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ  = 0.826 + 0.355 (X1) - 0.158 (X2) + 0.172 (X3) + 0.430 (X4) และสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Ẑy = 0.303 (X1) - 0.161 (X2) + 0.185 (X3) + 0.417 (X4)

Article Details

How to Cite
เรืองบุญส่ง น. ., วรบำรุงกุล ธ. ., & นิลโคตร เ. . (2025). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหาร งานวิชาการยุคปัญญาประดิษฐ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ชลบุรี ระยอง. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 8(3), 85–98. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/7226
บท
บทความวิจัย

References

กฤษฎา ไกรสุริยวงศ์ และสายรุ้ง บุบผาพันธ์. (2567). การบริหารจัดการองค์กรด้วยปัญญาประดิษฐ์แห่งโลกเสมือนจริง. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 7(3), 397-411.

จรัญญา ทองวิเศษ และคณะ. (2567). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารงานวิชการ โรงเรียนเครือข่ายพื้นที่นวัตกรรม จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการมหาวิทยาภัฏศรีสะเกษ, 18(1), 122-137.

ฐาปนันท์ กันยา และพรทิพย์ สุริยาชัยวัฒนะ. (2558). การบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(2), 101-110.

ตัทธิตา ติ่งต่ำ และคณะ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับประสิทธิผล ในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12. วารนาคบุตรปริทรรศน์, 8(2), 46-58.

นุจรินทร์ สายพิณ และคณะ. (2567). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในพื้นที่นำร่องนวัตกรรมการศึกษา จังหวัดระยอง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(10), 11-10.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวิริยาสาส์น.

ปกรณ์ ประจันบาน. (2555). สถิติขั้นสูงสำหรับการวิจัยและประเมิน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์.

เพชรา กิติศรีวรพันธุ์ และคณะ. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างการนิเทศภายในกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ที่เปิดสอนช่วงชั้นที่ 3 - 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 1(2), 77-82.

มณีรัตน์ จันทรา และคณะ. (2566). ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณธรรม และความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(12), 120-129.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง. (2565). สรุปข้อมูลทางการศึกษาสำนักงานการศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง ปีการศึกษา 2565. ชลบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). AI เพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุดาว เลิศวิสุทธิไพบูลย์. (2564). เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์กับงานการยศาสตร์. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 14(1), 1-2.

สุภาพรณ์ พิลาดรัมย์ และคณะ. (2557). การศึกษาประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 9(1), 41-49.

อนุสรณ์ สุทธหลวง และคณะ. (2565). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 19(86), 106-122.

อารีรัตน์ เพ็งสีแสง และคณะ. (2558). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูที่ส่งผลต่อความเป็นครูมืออาชีพในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 38(4), 101-109.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing. (5th ed.). New York: Harper.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Likert, R. (1993). A Technique for the Measurement of Attitude. Chicago: Rand Mc Nally.