แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1

Main Article Content

มัทนี พรรณเผือก
รัฐพร กลิ่นมาลี
วีระยุทธ ชาตะกาญจน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 จำนวน 86 คน มาจากตารางของเครจซี่และมอร์แกน จากนั้นสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ และหาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 ท่าน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าดัชนี PNI modified ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (equation  = 3.54, S.D. = 0.20) สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (equation = 4.68, S.D. = 0.24) และความต้องการตามองค์ประกอบหลักของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 พบว่า ด้านการสร้างแรงบันดาลใจมีลำดับความต้องการจำเป็นสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านการสร้างอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 จำนวน 4 ด้าน 40 ข้อ

Article Details

How to Cite
พรรณเผือก ม. ., กลิ่นมาลี ร. ., & ชาตะกาญจน์ ว. (2025). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 8(3), 188–199. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JSSD/article/view/7236
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: กรมวิชาการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: ที.อ เอส.บี. โปรดักส์.

ขจรอรรถพณ พงศ์วิริทธิ์ธร. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ: เชียงราย. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(6), 4-6.

คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ. (2559). ร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ชุติกาญจน์ ทักโลวา. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. ใน วิทยานิพนธ์วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา (ฉบับปรับปรุง) เพื่อปฏิรูปรอบสองและประเมินภายนอกรอบสาม. กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.

นนทกร อรุณโน. (2559). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม เขต 17. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ปานรดา พรธวัชชัย. (2557). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครในเขตทวีวัฒนา. ใน วิทยานิพนธ์การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พณิชา สีเข้ม. (2562). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดอุทัยธานี. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ยุรพร ศุทธรัตน์. (2552). องค์การแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัชนี บุญกล่ำ. (2563). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาอย่างยั่งยืน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ , 7(8), 335-343.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2556). ภาวะผู้นำทฤษฎีการวิจัยและแนวทางสู่การพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2548). พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. เรียกใช้เมื่อ 10 พฤษภาคม 2567 จาก https://pub.nstda.or.th/gov-dx/2005-royal-decree/

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1. (2567). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1. เรียกใช้เมื่อ 3 พฤษภาคม 2567 จาก http://www.nst1.go.th/home/wp-content/uploads/2023/05/แผน-5-ปี_compressed.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.

Bass, B. M. & Avolio, B. J. (1994). Improving organization effectiveness through transformation leadership. Thousand Oak: Sage.

Hoy, W. K. & Miskel, C. G. (2001). Education administration. (6th ed.). New York: McGraw-Hill.

Jame, C. & Connolly, U. (2000). Educational administration theory research practice. (7th ed.). New York: McGraw-Hill.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.