การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: นวัตกรรมการเคลื่อนขยับ ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ผู้แต่ง

  • เสรี วงษ์มณฑา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา กรุงเทพฯ

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค, การพัฒนาและ การส่งเสริมการท่องเที่ยว, ผู้เชี่ยวชาญด้านสร้างสรรค์ในท้องถิ่น, วัฒนธรรมของแท้ และดั้งเดิม

บทคัดย่อ

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกำลังเติบโตขึ้น ทั้งนี้เพราะนักท่องเที่ยวมีความสนใจการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ไม่เพียงแต่มีนักท่องเที่ยวที่มีรายได้สูงและปานกลางอย่างแต่ก่อนเท่านั้นที่สนใจการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม นักท่องเที่ยวรายได้น้อยในตลาดล่างก็มีความสนใจเช่นเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตาม การท่องเที่ยว
เชิงวัฒนธรรมในปัจจุบัน นักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไม่ได้สนใจแต่เพียงไปดูและไปเรียนรู้ที่ไม่มีการทำกิจกรรมใด ๆ พวกเขาต้องการที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการสร้างสรรค์เพื่อทดสอบศักยภาพในการสร้างสรรค์ของตนเอง พวกเขาต้องการมีส่วนร่วมกับการใช้ชีวิตของคนในชุมชน เป็นโอกาสให้ท้องถิ่นที่ไม่มีทุนทางโครงสร้างแต่มีทุนทางวัฒนธรรม สามารถใช้ทรัพยากรทางวัฒนธรรม ทั้งด้านการเรียนรู้วิถีชีวิตขนบธรรมเนียมประเพณี งานศิลปหัตถกรรม การแสดง การทำอาหาร การละเล่นกีฬา และกิจกรรมอื่นๆ มาดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนได้ โดยการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นเมืองท่องเที่ยวเป้าหมายสำหรับการร่วมกิจกรรมการสร้างสรรค์โดยการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ต้องเป็นความร่วมมือกันแบบบูรณาการ ระหว่างภาครัฐผู้ให้นโยบายและให้การบริการ สนับสนุนการพัฒนาและการส่งเสริมการท่องเที่ยว ภาคเอกชนที่จะลงทุนในอุตสาหกรรมการสร้างสรรค์ ภาคชุมชนที่จะเป็นผู้สอน ผู้นำกิจกรรมการสร้างสรรค์ โดยมองว่าการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เป็นการท่องเที่ยวเชิงสืบสานที่จะดำรงวัฒนธรรมที่แท้จริงของท้องถิ่นให้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืน

References

Al-Ababneh. (2017). Creative. Tourisms Journal of Tourism and Hospitality, 6(6), 282.

Chang Seohee. (2018). Experience economy in the hospitality and tourism context. Tourism Management Perspectives, 27(July 2018), 83-90.

Femandes and Rachao. (2014). Reinventing tourism at a traditional cultural tourism destination: A case study of Viana do Castelo (Portugal).

International Journal of Business and Globalization, 12(3), 281-296.

Hui Yu Lin. (2019). The Transmission of Traditional Cuisines: A Review research, Journal of Tourism & Hospitality 8(2).

Jagdish N. Sheth. Z. (1991). Why We Buy What We Buy: A Theory of Consumption Values. Journal of Business Research,22(2), 159-170.

Kithiia and Reilly. (2016). Real or Stage? Authenticity and Cultural portrayal in Indigenous Tourism. Journal of Tourism & Hospitality, 5(5), 213.

Lori J. Sipe. (2018). Connect, Refresh, and Energize: Enabling Organizational Innovation Capacities Through Self-Determination Theory, SAGE Journals, 20(2), 241-253.

Moon Kwong. (2017). An ultra structural study of the application of dentine adhesives to acid- conditioned sclerotic dentin October 2000,

Journal of Dentistry. 28(7), 515-28

Richards, J.A. (1999). Remote Sensing Digital Image Analysis: An Introduction. Springer-Verlag, Berlin, Germany

Richards, J.A. (2000). Racial Diversity, Business Strategy, and Firm Performance: A Resource-Based View. Academy of Management Journal, 43(2), 164-177.

Richards, G. (2000). World Culture and Heritage and Tourism. Tourism Recreation Research, 25(1), 9-18.

Richards, G., & Raymond, C. (2002). Creative Tourism. ATLAS News, 23, 16-20

Richards and Wilson. (2004). Developing Creativity in Tourist Experiences: A Solution to The Serial. Reproduction of Culture? Publisher: Elsevier.

Richards, G. (2010). Creative Tourism A Global Conversation how to provide unique creative experiences for travelers worldwide: at present at the 2008 Santa Fe & UNESCO International Conference on Creative Tourism in Santa Fe. In Wurzburger, R. (Ed.), Creative Tourism and

Local Development. 78-90.

Richards, G. (2019). Creative tourism: opportunities for smaller places? June 2017 Tourism & Management studies, 15(SI).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30