สื่อสัญลักษณ์ ความเชื่อสู่อัตลักษณ์ผ้าทอไทย-ลาว
บทคัดย่อ
การทอผ้านับเป็นวัฒนธรรมของแม่หญิงที่จะต้องทอผืนผ้าเพื่อใช้สำหรับเป็นเครื่องนุ่งห่มหรือเป็นสิ่งของเครื่องใช้ตั้งแต่เกิดจนตาย แม้กระทั่งการแสดงถึง
บทบาทที่ทำให้ถูกยอมรับในเรื่องของการมีครอบครัว ผืนผ้าที่แสดงฐานะทางสังคมการทอผ้าเป็นกระบวนการสร้างผ้าผืนที่มีความเหมือนกันในแถบอาเซียนแต่สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น จากการศึกษาสัญลักษณ์ ความเชื่อ สู่อัตลักษณ์ผ้าทอไทย-ลาว พบว่า ในกระบวนการทอผ้าเริ่มตั้งแต่การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเทคนิคการหมักผ้าด้วยวัสดุจากธรรมชาติ เช่น โคลน น้ำซาวข้าว สีย้อมเส้นใยที่หาได้จากธรรมชาติทำให้ผืนผ้ามีสีที่แตกต่างกันออกไป การทอเพื่อสร้างลวดลายมักเกิดจากเรื่องเล่า ความเชื่อของแต่ละพื้นที่ บ้างก็สร้างลวดลายที่เกี่ยวกับเรื่องทางศาสนาความเชื่อเกี่ยวกับพญานาค เรื่องเล่าที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชิวิตสถานที่สำคัญต่าง ๆ ด้วยวิธีการจก การขิด การมัดหมี่ และเมื่อกาลเวลาที่เปลี่ยนไปสื่อสัญลักษณ์ที่ปรากฏในงานผ้าทอก็จะกลายเป็นคุณค่าของงานที่ถูกอนุรักษ์เพื่อสร้างคุณค่าอยู่ในผืนผ้านั้น และก็มีที่ปรากฏอยู่ในลวดลายในแบบฉบับที่มีการนำมาประยุกต์เพื่อให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเนื่องจากความนิยมในกระแสการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปเพราะการทอผ้าจะทอตามความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก แต่ท้ายที่สุดการสวมใส่ผ้าทอก็ยังแสดงถึงวัฒนธรรมแบบผสมผสานเพื่อสื่อให้กับสังคมสามารถสัมผัสและเล่าเรื่องราวของรากเหง้าแห่งวัฒนธรรมวิถีชีวิตถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบของเสื้อผ้าเพื่อให้ทันกับยุคสมัยแต่กระแสแห่งผ้าทอก็ยังจะคงอยู่ควบคู่กับวัฒนธรรมที่ถึงแม้จะเปลี่ยนไปตามกาลเวลาแต่อัตลักษณ์ก็ยังบอกถึงความชัดเจนก็ยังต้องการสื่อให้เห็นถึงตัวตนของความเป็นมาสืบต่อไป
References
ชนิดา ตั้งถาวรสิริกุล. (2541). สื่อสัญลักษณ์ผ้าลาวเวียงจันทร์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. กรุงเทพฯ.
ชลธิรา สัตยาวัฒนา. (2537). บทความ: สายใยความสัมพันธ์ไทลาวบนผืนผ้า. ในมรดกและแหล่งท่องเที่ยวลาว. องค์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สปป.
ลาวร่วมกับสำนักพิมพ์เพื่อนชีวิตจัดพิมพ์ เป็นภาษาไทย-ลาว.
ชิน อยู่ดี. (2516). วัฒนธรรมบ้านเชียงในสมัยก่อนประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ:กรมศิลปากร.
ดอกไม้ ปานพาน. (2555). มโนราห์กินรี [ออนไลน์], ค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2564, จาก: https://www.gotoknow.org/posts/233832.
พิสิฐ เจริญวงศ์. (2516). บ้านเชียง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิฆเนศ. หาคำ จำปาแก้วมณี และคณะ. 2539. ประวัติศาสตร์ลาว. สุวิทย์ ธีรศาศวัต แปล.
ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ุ6. วิชัย อภัยสุวรรณ. (2517). บทความ: สัตว์ในจินตนาการของมนุษย์. วารสารชาวกรุง, ปีที่ 23 เล่ม 8.
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2530). ผ้าไทย: พัฒนาการทางอุตสาหกรรมและสังคม. กรุงเทพฯ: บริษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย.
ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา. (2522). บทความ: นาค. วารสารความรู้คือประทีป ฉบับที่ 4.
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2533). แอ่งอารยธรรมอีสาน. ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
สยามคเณศ. (2564). “พญาครุฑ” เทพพาหนะแห่งพระวิษณุ [ออนไลน์], ค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2564, จาก: http://www.siamganesh.com/garuda.html
สุมิตร ปิติพัฒน์ และคณะ. (2553). เกิด แก่ เจ็บ ตาย: วิถีไทในผืนผ้า. กรุงเทพมหานคร: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา. (2529). น้ำ: บ่อเกิดแห่งวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
Patricia Cheesman Naenna. (1990). Costume and Culture, Vanishing Textiles of Some of the Tai Groups in Laos P.D.R.
Thaigoodview. (2009). เรือคชสีห์ [ออนไลน์], ค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2564, จาก: http://www.thaigoodview.com/node/37932
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาตของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เว้นแต่จะได้รับอนุญาติเป็นอย่างอื่น