พฤติกรรมการท่องเที่ยวโดยรถจักรยานยนต์: กรณีศึกษาผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
พฤติกรรม, รถจักรยานยนต, การท่องเที่ยวโดยรถจักรยานยนตบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง พฤติกรรมการท่องเที่ยวโดยรถจักรยานยนต์: กรณีศึกษาผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ในการท่องเที่ยว ศึกษาปัจจัยด้านรถจักรยานยนต์ที่ใช้ในการเดินทางท่องเที่ยว และศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวโดยรถจักรยานยนต์ของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ที่พำนักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร
การวิจัยนี้เป็นแบบปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ในการท่องเที่ยวที่พำนักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ใช้เครื่องมืแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับใช้สถิติพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 20-29 ปี มีการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้อยู่ในระหว่าง 10,001-20,000 บาทต่อเดือน มีประสบการณ์การขับขี่รถจักรยานยนต์เพื่อการท่องเที่ยว 5 ปีขึ้นไป ใช้รถจักรยานยนต์ประเภทTOURING MOTORCYCLE มีขนาดเครื่องยนต์ของรถจักรยานยนต์ 301 cc - 400 ccและใช้แบรนด์รถจักรยานยนต์ Honda ผลการศึกษาด้านปัจจัยพฤติกรรมการท่องเที่ยวนักท่องเที่ยวเดินทางท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนในวันหยุด เดินทางในระหว่างเดือนพฤศจิกายน - เดือนธันวาคม ใช้ระยะเวลาการท่องเที่ยวต่อครั้งเพียง 1 วัน มีรูปแบบการเดินทางแบบหมู่คณะ หรือแบบคาราวาน ใช้จ่ายเงินในการเดินทางท่องเที่ยวไม่เกิน 1,000 บาท เลือกท่องเที่ยวในภาคตะวันตก และมีการใช้ความเร็วในการขับขี่ระหว่าง 51-100 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยต่อไป ควรทำการศึกษาในเรื่องการป้องกันอุบัติเหตุจากการท่องเที่ยวโดยรถจักรยานยนต์ เนื่องจากรถจักรยานยนต์เป็นพาหนะที่ก่อให้เกิดความเสียหายสูงหากเกิดอุบัติเหต
References
กรมการขนส่งทางบก. (2562). จำนวนรถจดทะเบียนใหม่และจำนวนรถจดทะเบียนสะสม. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561). สรุปสถานการณ์การท่องเที่ยว. รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว. ฉบับที่ 1 ปี 2562.
ชัยวุฒิ ชัยฤกษ์. (2562). ศักยภาพทางการท่องเที่ยวโดยมอเตอร์ไซค์ของจังหวัดกาญจนบุรี. กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
พันฤทธิ์ กุลเลิศประเสริฐ (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่.
สมชัย อุดมมงคลกูล. (2549). ปัจจัยการสื่อสารการตลาดในการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนตของผูบริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techiques. New York: John Wiley & Sons. Inc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาตของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เว้นแต่จะได้รับอนุญาติเป็นอย่างอื่น