การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนานาชุุมชน ตำบลโคกม่่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
คำสำคัญ:
การมีส่วร่วม, การพัฒนาชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการพัฒนาชุุมชนตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุุง 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนตำบลโคกม่วง อำเภอ เขาชัยสน จังหวัดพัทลุง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุุคคล และการรับรู้ ข้อมููลข่าวสารของ ประชาชนเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมููลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน พบว่า
1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุุมชน พบว่า ประชาชนมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมโดยรวมและรายด้านอยู่ใน ระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล
2) การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน ภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในระดับปานกลาง โดยประเด็นรับรู้ ข้อมูลข่าวสารจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือสมาชิกสภาเทศบาล มากที่สุด
3) ประชาชนกลุ่มตัวอย่างที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และระยะเวลาอาศัยในพื้นที่ แตกต่างกัน มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุุมชนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศแตกต่างกัน มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุุมชนไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้ พบว่า การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ในการพัฒนาชุมชนประชาชนมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับมากกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์.
กุสุมา เขียวเพก. (2560). การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนเกี่ยวกับการพัฒนาท้องถิ่นในองค์การบริหารส่วนตำบลร่อนทอง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) คณะสังคมศาสตร์.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กิตติพงษ์ พิพิธกุล. (2561). คุณภาพเครื่องมือแบบสอบถาม : Validity กับ Reliability ในการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 8(2), 104-110.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2544). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
เทศบาลตำบลโคกม่วง. (2564). สภาพทั่วไป[ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2564. http://www.kokmuang.go.th/general1.php.
ธนิศร ยืนยง. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่น ในจังหวัดนครนายก. Journal of MCU Nakhondhat, 5(2), 119-135.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพค์รั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พีรพัฒน์ พันศิริ. (2559). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา การพัฒนาองค์กรชุมชน. นครปฐม: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
ไพศาล สรรสรวิสุทธิ์. (2550). การพัฒนาชุมช. รัฐศาสตร์สาส์น, 1 (2550), 11-14.
รัฐ กันภัย และ ธรรมนิตย์ วราภรณ์. (2558). การรับรู้ข่าวสารและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในเขต องค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดภาคตะวันตกตอนล่าง. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(1),1075-1088.
วนิดา เสร็จกิจ. (2563) . การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ในบริบทของการพัฒนาประเทศ. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 8(1), 73-98.
วารุณีชาคํารณุ. (2551). การมีสวนรวมของประชาชนในการจัดเวทีประชาคมชุมชนเพื่อจัดทําแผนพัฒนาเทศบาลตําบลนาแห้ว อําเภอนาแหว จังหวัดเลย. เลย: วิทยานิพนธรัฐศาสตรมหาบัณฑติ, สาขาการปกครองสวนทองถิ่น, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
วิชิต อู่อ้น. (2550). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สัญญา เคณาภูมิ. (2551). ความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนใน 4 จังหวัดชายแดนลุ่มน้ำโขง. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. ปทุมธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สมบัติ นามบุรี. (2562). ทฤษฎีการมีส่วนร่วมในงานรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารวิจัยวิชาการ. 2(1), 183-197.
Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measure for Project Design Implementation and Evaluation: Rural Development Committee Center for international Studies. New York: Cornell University Press.
Taro Yamane(1973 ).Statistics: An Introductory Analysis.3rdEd.New York.Harper and Row Publications.
UN. Bereau Of Social Affairs. (1995). Social progress through community development. New York: The UN Publication.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาตของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เว้นแต่จะได้รับอนุญาติเป็นอย่างอื่น