การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดการขยะทะเล กรณีศึกษาชุมชนชายฝั่ง จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ภีมญ์นภัสร์ ชลายนนาวิน นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • อัจฉรา ชลายนนาวิน นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, ขยะทะเล, ชุมชนชายฝั่ง

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดการขยะทะเล กรณีศึกษาชุมชนชายฝั่ง จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนชายฝั่ง ต่อการจัดการขยะทะเลในจังหวัดชลบุรี และเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของชุมชนชายฝั่งต่อการจัดการขยะทะเล ในจังหวัดชลบุรี จําแนกตามตัวแปรพื้นฐาน ประชากรกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือสมาชิกชุมชนชายฝั่งที่ขึ้นทะเบียนชุมชนชายฝั่ง จังหวัดชลบุรี จำนวน 212 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ประกอบด้วยสถิติพรรณนา (ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และสถิติอ้างอิง t-test และ ANOVA (F-test) กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

ผลการศึกษา พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดการขยะทะเล กรณีศึกษาชุมชนชายฝั่ง จังหวัดชลบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ผลการทดสอบทางสถิติ เปรียบเทียบตัวแปรอิสระกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะทะเลของชุมชนชายฝั่ง จังหวัดชลบุรี พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่างกัน ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะทะเล ของชุมชนชายฝั่ง จังหวัดชลบุรีไม่แตกต่างกัน ส่วนระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน ต่างกัน ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะทะเลของชุมชนชายฝั่ง จังหวัดชลบุรี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

References

กรมทรัพยากรทางทะเลเละชายฝั่ง. (2561).ข้อมูลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จังหวัดชลบุรี. กรุงเทพฯ: ศูนย์สารสนเทศทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง.

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2561). สถานการณ์และแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะทะเลและชายฝั่ง. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2564. จาก http://mrpolicy.trf.or.th/LinkClick.aspx.

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2564). “ขยะพลาสติก”ในทะเลไทย ใครว่าเรื่องเล็ก. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2564. จาก http://tcc.dmcr.go.th/thaicoastaleanup.

กรมควบคุมมลพิษ. (2562). (ร่าง) Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ.2561 - 2573 (Thailand's Roadmap on Plastic Waste Management 2018 - 2030). [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 25 มกราคม 2564 จากhttps://www.facebook.com/PCD.go.th/photos/pcb.22095938824.

ปาริชาติ วลัยเสถียร, จิตติ มงคลชัยอรัญญา และโกวิทย์ พวงงาม. (2543). กระบวนการเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์ และคณะ. (2561). รายงาน สกว. วิกฤตขยะทะเลไทย...ใครว่าเรื่องเล็ก. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2564. จาก http://www.knowledgefarm.in.th/thai

วิกานดา วรรณวิเศษ. (2563). ปัญหาขยะทะเลในประเทศไทย (Marine Debris Problem in Thailand).กรุงเทพฯ. สำนักวิชาการ สำนักเลขาธิการวุฒิสภา.

สหประชาชาติ ประเทศไทย. (2558). เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศไทย. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อวันที่ 12มกราคม 2564. จาก https://thailand.un.org/th/sdgs/14.

สุชนา ชวนิชย. (2563). ผลกระทบของขยะทะเลที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม และการสร้างการตระหนักและจิตสำนึก. กรุงเทพฯ. สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2563). ขยะพลาสติกในทะเล วงจรทำลายระบบนิเวศ.[ออนไลน์]. ค้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2564 จาก https://resourcecenter.thaihealth.or.th/artic.

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1980). Participation’s place in rural development. Seeking clarify through specificity. n.p. January 26 2021. From https://ideas.repec.org/a/eee/wdevel/v8y1980i3p213-235.html.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper and Row. January 26 2021. from https://www.scirp.org/(S(lz5mqp453edsnp55rrgjct55))/reference.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31