ลักษณะและปัจจัยสนับสนุนให้ชุมชนพึ่งตนเอง กรณีศึกษาชุมชนเลียบคลองมอญ แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ยุทธจักร มณีแดง นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • กาญจนา เเก้วรอด อาจารย์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

พึ่งตนเอง, ชุมชนเลียบคลองมอญ, เขตลาดกระบัง

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องลักษณะและปัจจัยสนับสนุนให้ชุมชนพึ่งตนเอง กรณีศึกษาชุมชนเลียบคลองมอญ แขวงทับยาว เขตลาดกระบังกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและปัจจัยสนับสนุนให้ชุมชนพึ่งตนเอง ของชุมชนเลียบคลองมอญ ผลการวิจัยนี้ทำให้ทราบถึงลักษณะและปัจจัยที่ทำให้ชุมชนที่สามารถพึ่งตนเองได้ ทั้งนี้ เพื่อนำลักษณะและปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ ไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์กับชุมชนอื่นๆ ต่อไป ผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาในครั้งนี้ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากสำนักงานเขตลาดกระบัง 2 ท่าน คือ เจ้าพนักงานเกษตรปฏิบัติการและนายท้ายเรือ อีกส่วนหนึ่งคือประชาชนในชุมชนเลียบคลองมอญ จำนวน 3 คน คือ ประธานชุมชนเลียบคลองมอญ เลขานุการกรรมการชุมชนเลียบคลองมอญ และอาสาสมัครประจำพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตลาดกระบัง โดยเครื่องมือที่ใช้ในศึกษาวิจัยในครั้งนี้ คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก

ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนเลียบคลองมอญมีลักษณะการพึ่งพาตนเองใน 5 ด้าน ได้แก่ 1) พึ่งตนเองทางเทคโนโลยี 2) พึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจ    3) พึ่งตนเองด้านทรัพยากรธรรมชาติ 4) การพึ่งตนเองด้านจิตใจ 5) พึ่งตนเองด้านสังคมและวัฒนธรรม และยังมีปัจจัยสนับสนุนให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ 5 ประการ ดังนี้ 1) การมีส่วนร่วม 2) กลุ่ม 3) ทุนชุมชน     4) เครือข่าย 5) ผู้นำชุมชน

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2551). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น.กรุงเทพฯ: บพิธ การพิมพ์.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2544). แนวคิดเศรษฐกิจ ชุมชน ข้อเสนอทางทฤษฎีในบริบทต่างสังคม. กรุงเทพฯ: สถาบันวิดิทรรศน์.

นันท์นภัส อธินนท์วรกรณและคณะ. (2558). ชุมชนพึ่งตนเองกับการทำเกษตรอินทรีย์ตามกรอบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเขาหินกลิ้ง ตำบลวังน้ำลัด อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์.[ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2564 จาก http://www.islocal.ru.ac.th/images/ispdf/is60/6014880035.pdf

สิวาพร สุขเอียด. (2552). การปกครองส่วนท้องถิ่น. http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=การปกครองส่วนท้องถิ่น

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2540). การพัฒนาชุมชนแบบจัดการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล. (2555). การวิเคราะห์องค์ประกอบของระบบคุณค่าและบรรทัดฐานในสังคมไทย. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2564 จาก https://erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=MTQ1NzU2

วิภารัตน์ วงษ์พังและคณะ. (2562). การพึ่งพาตนเองและปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการวิสาหกิจ ชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์จากแป้งข้าวหอมมะลิ ในจังหวัดร้อยเอ็ด. แก่นเกษตร, 47 (ฉบับพิเศษ 1): 1079-1088.

อัยรวี วีระพันธ์พงศ์. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพึ่งตนเองของชุมชน กรณีศึกษาชุมชนคลองลัดมะยม แขวงบางระมาด เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อินธิรา ครองศิริ. (2560). ตัวแบบการจัดการชุมชนพึ่งตนเองแบบยั่งยืน : กรณีศึกษาชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ชอง ตำบลคลองพลู อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี.วารสารการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, 21(2), 74-101.

Norman Jacobs. Modernization Without Development : Thailand as an Asian Case Study.New York

: Praeger Publishers, 1971.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31