การสำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ต่อการจัดกิจกรรมสื่อสารการตลาดแบบอิเวนต์เสมือนจริง (Virtual Event)

ผู้แต่ง

  • วิชญา ปัญญารัตน์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • องอาจ สิงห์ลำพอง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

กิจกรรมสื่อสารการตลาดแบบอิเวนต์เสมือนจริง, อิเวนต์เสมือนจริง, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครต่อการเข้าร่วมกิจกรรมสื่อสารการตลาดแบบกิจกรรมอิเวนต์เสมือนจริง (Virtual Event) และเพื่อนำเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมสื่อสารการตลาดแบบอิเวนต์เสมือนจริง งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ G*Power ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 153 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามผ่านช่องทางออนไลน์โดยใช้วิธีสุ่มตามสะดวก (Convenient Sampling) และคัดกรองเฉพาะผู้ที่เคยเข้าร่วมกิจกรรมสื่อสารการตลาดแบบกิจกรรมอิเวนต์เสมือนจริง ทำการเก็บข้อมูลช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2565 ทดสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาและความน่าเชื่อถือของเครื่องมือด้วยสัมประสิทธิ์ครอนแบ็ซ แอลฟา (Cronbach’s Alpha-Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่น .884 สถิติที่ใช้วิจัยคือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าแปรปรวนทางเดียว และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน

          ผลการศึกษานี้เพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภคที่เคยเข้าร่วมกิจกรรมสื่อสารการตลาดแบบอิเวนต์เสมือนจริง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในประสบการณ์ ด้านความคิดสร้างสรรค์ของกิจกรรม และด้านความคาดหวังในประสบการณ์ร่วม เพื่อนำเป็นแนวทางการออกแบบการจัดกิจกรรมสื่อสารการตลาดแบบอิเวนต์เสมือนจริง พบว่าความสัมพันธ์ของปัจจัยทั้ง 3 ด้าน และประเภทของกิจกรรมสื่อสารการตลาดแบบอิเวนต์เสมือนจริง ไม่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคที่เคยเข้าร่วมกิจกรรม แต่สำหรับด้านการมีส่วนร่วมในประสบการณ์ พบว่า อายุของผู้บริโภคที่เคยเข้าร่วมกิจกรรมมีผลต่อความพึงพอใจ และผลวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจทั้ง 3 ด้าน มีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมสื่อสารการตลาดแบบอิเวนต์เสมือนจริงอยู่ในระดับมาก

References

กัลยากร วรกุลลัฎฐานีย์ และพรทิพย์ สัมปัตตะวนิช. (2553). การโฆษณาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน). (2563). Virtual event จำเป็นในยุค New normal ให้ทุกคน

ท่องอีเวนต์เสมือนจริงด้วยเทคโนโลยี. [ออนไลน์], จาก http://www.cattelecom. com/cat/siteContent/3890/275/Virtual+Event?lang=th_TH.

ปฏิพรรณ ยุติธรรมสถิต. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของผู้บริโภคในอิเวนต์เสมือนจริง. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปิยะชาติ อิศรภักดี. (2560). Brand 4.0 (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: อมรินทร์ฮาวทู.

เพ็ญนภา จรัสพันธ์. (2557). ความพึงพอใจของลูกค้าต่อคุณภาพการใช้บริการลูกค้า จีเนท โมบายเซอร์วิส เซ็นเตอร์ จันทรบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ. มหาวิทยาลัยบูรพา.

อดุลย์ จาตุรงค์กุล. (2545). กลยุทธ์การตลาด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ. (2564). เพิ่มการเข้าถึงทั่วโลกด้วย Virtual event.

[ออนไลน์], จาก https://intelligence.businesseventsthailand.com/files/insights/84015744136361.pdf.

เสรี วงษ์มนฑา. (2561). การประชาสัมพันธ์ยุคดิจิทัล และการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานในยุคดิจิตัล

ใน การอบรม Communication Strategist : การประชาสัมพันธ์ดิจิทัล และ Digital IMC. กรุงเทพฯ: APR Serminar and Trainning.

Kotler, P. (1997). Marketing management: Analysis, planning, implementation, and control (9th ed.).

Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Vroom, V. H. (1964). Work and motivation. New York: Wiley.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31