การประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติประเภทถ้ำ : กรณีศึกษา ถ้ำเลเขากอบ จังหวัดตรัง
คำสำคัญ:
การประเมินมาตรฐาน, คุณภาพแหล่งท่องเที่ยวประเภทถ้ำ, แหล่งท่องเที่ยวประเภทถ้ำบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติประเภทถ้ำของถ้ำเลเขากอบ จังหวัดตรัง 2) เพื่อประเมินมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติประเภทถ้ำของถ้ำเลเขากอบ จังหวัดตรัง ประชากรที่ใช้ศึกษาในครั้งนี้ คือ เจ้าหน้าที่/บุคลากร และนักวิชาการที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการอนุรักษ์ พัฒนา และส่งเสริมการท่องเที่ยวถ้ำเลเขากอบ จังหวัดตรัง และผู้ให้บริการการท่องเที่ยวในถ้ำเลเขากอบ จังหวัดตรัง มีขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 108 ตัวอย่าง เลือกตัวอย่างโดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติประเภทถ้ำของกรมการท่องเที่ยว
จากผลการประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติประเภทถ้ำ ของถ้ำเลเขากอบ จังหวัดตรัง ซึ่งมีจำนวนตัวชี้วัดทั้งหมด 35 ตัวชี้วัด มีคะแนนเต็มเท่ากับ 175 คะแนน โดยจะมีการแบ่งตัวชี้วัดออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 (ประเมินศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติประเภทถ้ำของถ้ำเลเขากอบ จังหวัดตรัง) มีจำนวน 13 ตัวชี้วัด และส่วนที่ 2 (ประเมินมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติประเภทถ้ำ ของถ้ำเลเขากอบ จังหวัดตรัง) มีจำนวน 22 ตัวชี้วัด จากการศึกษาพบว่า ส่วนที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 48.04 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 65 คะแนน) และส่วนที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 70.24 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 110 คะแนน) รวมทั้ง 2 ส่วน มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 118.28 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 175 คะแนน) ซึ่งค่าคะแนนที่ได้ เมื่อเปรียบเทียบกับระดับค่าคะแนนมาตรฐานแล้ว พบว่าคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวประเภทถ้ำของถ้ำเลเขากอบ จังหวัดตรัง จัดอยู่ในอยู่ในระดับดี หรือระดับสามดาว
References
กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2550). แหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักธรณีวิทยา.
กรมประชาสัมพันธ์. (2560). การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เปิดตัวโครงการ 12 เมืองต้องห้าม...พลาด Plus ปี 2561 ร่วมกับพันธมิตรหลายภาคส่วน ชูแนวคิด “Less Volume More Value” มุ่งส่งเสริมการท่องเที่ยวให้น้ำหนักในเชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2564, จาก https://thainews.prd.go.th/th/website_th/news/news_detail/WNECO6011240010021
กรมการท่องเที่ยว. (2557). คู่มือการประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติประเภทถ้ำ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2564, จาก https://www.dot.go.th/pages/43
กรมทรัพยากรธรณี. (2564). ถ้ำทะเล ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2564, จาก http://www.dmr.go.th/main.php?filename=s07
กฤษณ์ โคตรสมบัติ. (2554). การประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กรณีศึกษาแหล่งท่องเที่ยวในเขตแก่งสามพันโบก อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.
ธนาวรรณ พิณะเวศน์. (2559) การประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เพื่อพัฒนา เส้นทางการท่องเที่ยว เชื่อมโยงกับเทศกาลงานกาชาดมะขามหวานของ จังหวัดเพชรบูรณ์ (รายงานวิจัย). มหาวทิยาลยัราชภฏัเพชรบูรณ์.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและวิเคาะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS ครอบคลุมทุกเวอร์ชั่น.
พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2555). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประยูร ดาศรี. (2559). การสำรวจมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเขตอุทยานแห่งชาติปางสีดา จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ยศรพี ทองเจรญิ. (2556). การประเมินมาตรฐานคุณภาพแหลงทองเที่ยวประเภทน้ำตก บนทางหลวง หมายเลข 12 ระหวาง อ.หลมสัก จ.เพชรบูรณ ถึง อ.วังทอง จ.พิษณุโลก. วิทยานิพนธปริญญา วิทยศาสตร์มหาบัญฑิต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตรัง. (2564). สถิตินักท่องเที่ยวจังหวัดตรัง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2564, จาก https://trang.mots.go.th/
องค์การบริหารส่วนตำบลเขากอบ. (2554). ประวัติสถานที่ท่องเที่ยวถ้ำเลเขากอบ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2564, จาก https://www.kaokob.go.th/
อัญชิษฐา กิ้มภู่. (2557). แนวทางการสร้างมาตรการรักษาความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว กรณีศึกษา ถ้ำเลเขากอบ จังหวัดตรัง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
อุดม เชยกีวงศ์, ประชิด สกุณะพัฒน์, และวิมล จิโรจพันธุ์. (2554). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. กรุงเทพฯ:
แสงดาว.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครวารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาตของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เว้นแต่จะได้รับอนุญาติเป็นอย่างอื่น