แรงจูงใจในการท่องเที่ยว และองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวที่มีอิทธิพลต่อ การกลับมาเยือนซ้ำของนักท่องเที่ยวชาวไทย : กรณีศึกษาเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • ศิวัช คงทอง คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต
  • ณัฏฐกฤษฏิ์ เอกวรรณัง คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต

คำสำคัญ:

แรงจูงใจในการท่องเที่ยว, องค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยว, การกลับมาเยือนซ้ำ, นักท่องเที่ยวชาวไทย, เกาะเต่า, สุราษฎร์ธานี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการมาท่องเที่ยว เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2. เพื่อศึกษาองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวบนเกาะเต่าตามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 3. เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของแรงจูงใจ และองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการกลับมาเยือนซ้ำของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยจำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 400 คน ใช้วิธีสุ่มแบบสะดวก ประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ความถี่ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลลักษณะทางประชากรศาสตร์และพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่ตอบแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21 ถึง 30 ปี มากที่สุด รองลงมามีอายุ 31 ถึง 40 ปี มีระดับการศึกษาส่วนใหญ่ที่ระดับปริญญาตรี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชนหรือรับจ้าง น้อยที่สุด คือ ว่างงานหรือไม่ได้ประกอบอาชีพ มีสถานภาพโสด และมีรายได้มากกว่า 40,001 บาท มากที่สุด และน้อยที่สุดมีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท นักท่องเที่ยวมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงจูงใจปัจจัยผลักดัน อยู่ในระดับมาก (=3.56) แรงจูงใจปัจจัยดึงดูด อยู่ในระดับมาก (=3.93) และองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวอยู่ในระดับมาก (= 3.84) การกลับมาเยือนซ้ำของนักท่องเที่ยวมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.36) ผลการทดสอบแรงจูงใจในการท่องเที่ยวและองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยว ที่มีอิทธิพลต่อการกลับมาเยือนซ้ำของนักท่องเที่ยวชาวไทย พบว่า แรงจูงใจที่เป็นปัจจัยดึงดูด (Beta = 0.301) และ แรงจูงใจที่เป็นปัจจัยผลักดัน (Beta = 0.229) มีอิทธิพลต่อการกลับมาเยือนซ้ำของนักท่องเที่ยว องค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวด้านสิ่งดึงดูดใจในการท่องเที่ยว (Beta = 0.321) องค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวด้านกิจกรรมและกระบวนการ (Beta = 0.241) มีอิทธิพลต่อการกลับมาเยือนซ้ำของนักท่องเที่ยว

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). ยุทธศาสตร์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ฉบับที่ 4.[ออนไลน์]. ค้น

เมื่อ 16 กันยายน 2564, จาก https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=9689.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศ Q1-Q4 ปี 2563 (ภาคใต้) [ออนไลน์].

ค้นเมื่อ 17 กันยายน 2564, จาก https://www.mots.go.th/News-link.php?nid=13034.

งานนโยบายและแผนสำนักปลัดเทศบาลเทศบาลตำบลเกาะเต่า. (2560). แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2560- 2562).

สุราษฎร์ธานี: เทศบาลตำบลเกาะเต่า.

ไทยรัฐออนไลน์. (2562). เปิดรางวัลทั่วโลกมอบให้เมืองไทย.[ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565.

จาก https://www.thairath.co.th/business/economics/1498221.

วาสนา สุวรรณจิตร. (2564). กลยุทธ์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย.

วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช. 32(2) น.145-163.

สิริรัตน์ นาคแป้น. (2555). พฤติกรรมและแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการมาท่องเที่ยวเกาะพะงัน

จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัญฑิตสาขาการจัดการการท่องเที่ยว คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

อารีรัตน์ วัชรโนธินกุล. (2560). ความคาดหวังและมิติแห่งความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ส่งผลต่อ

การกลับมาเยือนซ้ำเกาะล้าน จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัญฑิตสาขาการจัดการการท่องเที่ยว คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

อิสระพงษ์ พลธานี และ อุมาพร บุญเพชรแก้ว. (2561). การศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเกาะเต่า

จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 38(5), 18-39.

Cronbach. (1974). Essentials of psychological testing. New York: Harper & Row.

PPTVHD36. (2564). ผู้ประกอบการภายในเกาะเต่าลดราคาโรงแรมที่พัก [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 มกราคม

, จาก https://www.pptvhd36.com/news/เศรษฐกิจ/143632.

Yamane, Taro. (1967). Elementary Sampling theory. New Jersey. Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30