ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนหวังดี อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม, ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม รวมถึงศึกษาถึงการยอมรับของชุมชนต่อผู้บริหารโรงเรียนหวังดี อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและวิจัยคุณภาพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหาร ครูผู้สอน บุคลากรสายสนับสนุน กรรมการสถานศึกษา และบุคคลในชุมชนรอบสถานศึกษา สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติพรรณนา สถิติอ้างอิง โดยวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าสหสัมพันธ์สูงสุด ด้านความยุติธรรม กับ การเอาใจใส่ สาเหตุน่าจะเป็นเพราะว่า ผู้บริหารโรงเรียนหวังดี มีความยุติธรรมทั้งในการปฏิบัติงานและปฏิบัติตนต่อผู้ใต้บังคับบัญชา และมีการเอาใจใส่ต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ทั้งในเรื่องการมอบหมายงานที่เหมาะสมกับคน 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยด้านคุณลักษณะ ด้านสถานการณ์ และด้านวัฒนธรรมองค์การที่เน้นจริยธรรม อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนบรรยากาศองค์การทางจริยธรรม อยู่ในระดับมาก ค่าสหสัมพันธ์สูงสุดด้านบรรยากาศองค์การทางจริยธรรม กับ วัฒนธรรมองค์การที่เน้นจริยธรรม สาเหตุน่าจะเป็นเพราะผู้บริหารมีสร้างบรรยากาศทางจริยธรรมในองค์กรที่เหมาะสม จึงส่งผลให้ในองค์กรมีวัฒนธรรมการดำเนินงาน การประพฤติปฎิบัติที่มีจริยธรรมตามไปด้วย 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ส่งผลไปยังภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโดยค่าที่มีน้ำหนักสูงสุด คือ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านวัฒนธรรมที่เน้นจริยธรรม ส่งผลไปยังภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการเอาใจใส่ สาเหตุน่าจะเป็นเพราะผู้บริหารให้ความสำคัญในการเอาใจใส่ในทุก ๆ ด้าน จึงก่อให้เกิดการจัดการเรียนการสอนที่ดีมีประสิทธิภาพ 4) การยอมรับของชุมชนต่อผู้บริหารโรงเรียนหวังดี พบว่า บุคคลในชุมชนมีทัศนะเกี่ยวกับผู้บริหารโรงเรียนหวังดี ด้านมีคุณธรรมจริยธรรมที่ดี บุคคลในชุมชนได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษา และมีความภาคภูมิใจที่โรงเรียนหวังดีเป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพมีการจัดการศึกษาที่ดีมีการส่งเสริมมาตรฐานและพัฒนาครูและเด็กให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน
References
กนกวรรณ บุญเรือง, มนต์นภัส มโนการณ์ และธารณ์ ทองงอก, (2560) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3. วารสาร Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ. 10(3), 1409-1426.
กันทิมา ชัยอุดม. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 10(1), 23-34
ชุติมา รักษ์บางแหลม. (2559). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม: หนทางสู่การขับเคลื่อนภาวะผู้นำในสถาบันการศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 8(1), 168 – 181.
ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา (ฉบับปรับปรงุ) เพื่อปฏิรูปรอบสองและประเมินภายนอกรอบสาม. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
ผุย รัตนโชโต. (2558). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 ที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครู โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครสกลนคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยนครพนม.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2556). ภาวะผู้นำ : ทฤษฎีการวิจัยและแนวทางสู่การพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิเชียร วิทยอดมุ . (2553). ภาวะผู้นํา Leadership. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.
สมจิตร อุดม. (2556). การพัฒนาองค์การทางการศึกษา. เอกสารประกอบการสอน. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.
สุทัด จันทะสินธุ์. (2560). รูปแบบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมแบบบูรณาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สุธาสินี แม้นญาติ. (2554). โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุรัตน์ ไชยชมภู. (2557). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในการบริหารสถานศึกษา. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 8(2), 1 – 15
สมชาย เทพแสง,และอภิธีร์ทรงบัณฑิตย์. (2557). ภาวะผู้นำจริยธรรม แนวคิด ทฤษฎีและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ:
ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อโนชา สิงห์สนั่น. (2558). คุณลักษณะทางชีวสังคมและสภาพแวดล้อมของโรงเรียนที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Glanz, J. (2006). What every principal should know about ethical and spiritual leadership. Thousand Oaks, California: Corwin.
Kocabas, I., & Karakose, T. (2009). Ethics in school administration. African Journal of Business Management, 3(4), 126-130.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาตของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เว้นแต่จะได้รับอนุญาติเป็นอย่างอื่น