การวิเคราะห์ตัวละครนางที่เกี่ยวข้องกับไฟพิธีกรรมในการแสดงนาฏศิลป์ไทย โดยใช้ทฤษฎีกงล้อสัตว์ 4 ทิศ
คำสำคัญ:
ตัวละครนาง, ไฟพิธีกรรม, นาฏศิลป์ไทย, ทฤษฎีสัตว์ 4 ทิศบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ตัวละครนางที่เกี่ยวข้องกับไฟพิธีกรรมในการแสดงนาฏศิลป์ไทยโดยใช้ทฤษฎีกงล้อสัตว์ 4 ทิศ โดยศึกษาจากเอกสาร ตำรา และสังเกตการณ์จากการแสดงของตัวละครนางที่มีการใช้ไฟพิธีกรรมในการแสดงโขน ละคร พบว่า สามารถจำแนกประเด็นการวิเคราะห์ได้ 2 ประเด็น คือ 1) ความเป็นมาของตัวละครนางที่เกี่ยวข้องกับไฟพิธีกรรม คือ นางสีดา นางศรีมาลา นางมโนห์รา และนางดรสา ที่มีจุดประสงค์การใช้ไฟพิธีกรรมที่เหมือน หรือแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับโครงเรื่อง ศาสนาและวัฒนธรรมของการแสดงแต่ละเรื่อง 2) การวิเคราะห์ตัวละครนางที่ใช้ไฟพิธีกรรมประกอบการแสดงโดยใช้ทฤษฎีกงล้อสัตว์ 4 ทิศ เพื่อเปรียบเทียบตัวละครนางกับสัตว์แต่ละทิศ คือ กระทิง อินทรี หนู และหมี ว่ามีลักษณะนิสัยแบบใดเมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์ที่มีไฟพิธีกรรมในการแสดงแต่ละเรื่อง จากการศึกษาพบว่า นางสีดา จะมีความเป็นหนูมากที่สุด เนื่องจากเป็นคนที่มีจิตใจดี ซื่อสัตย์ ใส่ใจความรู้สึกของผู้อื่นมากกว่าความรู้สึกของตัวเอง นางศรีมาลา จะมีความเป็นกระทิงมากที่สุด เนื่องจากเป็นคนที่กล้าได้ กล้าเสีย กล้าเสี่ยงที่จะกระทำสิ่งที่ตนตั้งใจไว้ให้สำเร็จ นางมโนห์รา จะมีความเป็นอินทรีมากที่สุด เนื่องจากเป็นคนที่ไม่ชอบให้ใครมาบังคับ ชอบวางแผนในการหาทางหนีจากสิ่งที่ตนไม่อยากทำ และนางดรสา จะมีความเป็นกระทิงมากที่สุด เนื่องจากเป็นคนที่มีความเด็ดเดี่ยวและกล้าหาญที่จะฆ่าตัวตามสามีตามประเพณีที่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าตัวละครนางทั้ง 4 ตัวมีความเหมือนและแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับภูมิหลัง สภาพแวดล้อม สังคม และศาสนาของแต่ละตัวละคร จึงทำให้ต้องแสดงออกในลักษณะนิสัยหรือบุคลิกแบบนั้น และทำให้เราเข้าใจในตัวละครนางทั้ง 4 ตัวมากยิ่งขึ้น
References
ธีระวุฒิ ศรีมังคละ. (2559). กงล้อสัตว์ 4 ทิศ. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565, จาก: https://www.gotoknow.org/posts/608240.
นพวรรณ คงสาธิตพร. (2562). รูปภาพ ชุด นางศรีมาลาลุยไฟ ละครนอก เรื่อง ขุนช้างขุนแผน. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562, จาก: https://shorturl.asia/eVfB4.
นิรมล เจริญหลาย. (2545). อาศรมศึกษาทางนาฏศิลป์ไทย. ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.
บุนนาค ทรรทรานนท์. (2562). นาฏลีลามโนห์รา บูชายัญ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อินดี้ พริ้นติ้ง.
___________. (2562). รูปภาพชุด ดรสาแบหลา ละครใน เรื่อง อิเหนา. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2562, จาก: https://shorturl.asia/lGeUI.
บุนนาค ทรรทรานนท์. (2562). ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานาฏศิลป์และการละคร. สัมภาษณ์, 23 กุมภาพันธ์ 2562.
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช, พระบาทสมเด็จ. (2540). บทละครเรื่องรามเกียรติ์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.
___________. (2557). โขน อัจฉริยะนาฏกรรมสยาม. กรุงเทพฯ : กองการสังคีต กรมศิลปากร.
ศิลปากร, กรม. (2535). บทละครเสภา เรื่อง ขุนช้าง-ขุนแผน ตอนขุนแผนแสนสะท้าน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : กองการสังคีต กรมศิลปากร.
___________. (2498). พระ-นาง เรื่อง มโนห์รา. พระนคร : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม.
สุนทร ณ รังสี. (2545). ปรัชญาอินเดียและลัทธิ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครวารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาตของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เว้นแต่จะได้รับอนุญาติเป็นอย่างอื่น