เทศบาลนครปากเกร็ด : การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน

ผู้แต่ง

  • พัชรินทร์ รัตนวิภา นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ แขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่นมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การสื่อสาร, การมีส่วนร่วม, เทศบาลนครปากเกร็ด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาความสำคัญและแนวทางการกำหนดวิธีการสื่อสาร
เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาของเทศบาลนครปากเกร็ด เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จากผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงเกี่ยวกับการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลนครปากเกร็ด จำนวน 10 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้กำหนดนโยบายและแนวทางการสื่อสาร เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน จำนวน 3 คน 2) กลุ่มคณะกรรมการชุมชนที่มีประสบการณ์ทำงานร่วมกับเทศบาลนครปากเกร็ด เป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป จำนวน 4 คน และ 3) กลุ่มนักวิชาการด้านการสื่อสาร เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่มีประสบการณ์หรือทำงานด้านการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วม เป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป จำนวน 3 คน

ผลการวิจัยพบว่า 1) เทศบาลนครปากเกร็ด ให้ความสำคัญกับการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเทศบาลทั้งในระดับนโยบายของผู้บริหารสูงสุด วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาล 2) เทศบาลนครปากเกร็ดมีแนวทางและวิธีการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเทศบาล โดยกำหนดให้มีแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ 5 ปี พ.ศ. 2564 - 2568 กำหนดยุทธศาสตร์ครอบคลุม 3 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การพัฒนาและการบูรณาการระบบสารสนเทศและการสร้างศักยภาพในการพัฒนาคน จัดให้มีระบบประชาสัมพันธ์และบริการข้อมูลข่าวสารของเทศบาลผ่านช่องทางหรือสื่อที่ใช้ในการสื่อสารแบบผสมผสาน ทั้งช่องทางตามแนวทางแบบเดิมและตามแนวทางเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ เพื่อสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องที่หลากหลายกลุ่ม หลายระดับ ทั้งภายในและภายนอกเทศบาล

References

กรวรรณ เวชชานุเคราะห์. (2557). การสื่อสารเพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์พื้นที่ชุมชนคลองโคน จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์หลักสูตรวารสารศาสตรมหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กาญจนา แก้วเทพ. (2543). สื่อสารมวลชน: ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัท เอดิสัน เพรส โพรดักส์ จำกัด.

กรวรรณ เวชชานุเคราะห์. (2557). การสื่อสารเพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์พื้นที่ชุมชนคลองโคน จังหวัสมุทรสงคราม.วิทยานิพนธ์หลักสูตรวารสารศาสตรมหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชวัลลักษณ์ คุณาธิกรกิจ. (2557). การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาตราสินค้าด้านการท่องเที่ยวไทยเชิงสร้างสรรค์เพื่อเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในฐานะผู้กำหนดนโยบาย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัศรีนครินทรวิโรฒ,17(1),64-82.

เณริศา ชัยศุภมงคลลาภ. (2552). รูปแบบการสื่อสารเพื่อการจัดการท่องเที่ยว ของชุมชนตลาดน้ำยามเย็นอัมพวา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เทียนลดา ประยงค์. (2566). การสื่อสารส่วนบุคคล. สัมภาษณ์ 5 กรกฎาคม 2566

ปาริชาติ วิลัยเสถียร และคณะ. (2543). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

พัชรินทร์ รัตนวิภา. (2565). การจัดการสื่อสารเครือข่ายร่วมปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต) สาขาวิชานิเทศศาสตร์ แขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2549). เอกสารการสอนชุดวิชาการสื่อสารเพื่อการพัฒนา (Communication and Development หน่วยที่ 1-8 กมลรัฐ อินทรทัศน์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

รุ่งนภา กิมง่วนสง. (2566). การสื่อสารส่วนบุคคล. สัมภาษณ์ 15 กรกฎาคม 2566

วรินทร วาสนะโชติ. (2566). การสื่อสารส่วนบุคคล. สัมภาษณ์ 15 กรกฎาคม 2566

วิชัย บรรดาศักดิ์. (2566). การสื่อสารส่วนบุคคล. สัมภาษณ์ 11 พฤษภาคม 2564

สุทนต์ กล้าการขาย. (2566). การสื่อสารส่วนบุคคล.สัมภาษณ์ 7 กรกฎาคม 2566

สมบัติ นามบุรี. (2562). ทฤษฎีการมีส่วนร่วมในงานรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารวิจัยวิชาการ,2(1): 183-197.

อานนท์ บัวภา. (2564). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทยกับการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนไทย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. 13-14.

อัจฉรา ศรีพันธ์. (2555). กลยุทธ์การสื่อสารแบบการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศ. 7(1): 5-19

Ascroft, J. (1987). Communication in Support of development: Lessons From theory and practice. Paper presented at the seminar on Communication and Change East-West Center, Honolulu Hawaii.

Berlo, D.K. (1960). The Process of Communication. New York: Holt, Rinehart and Winston.

Cohen, J.M., and Uphoff, N.T (1997). Rural Development Participation: Concept and Measures for Project design, Implementation and Evaluation. London: Rural Development Committee, Center for International Studies, Cornell University.

David K., Berlo. (1960). The Process of Communication : An Introduction to Theory and Practice.New York : Holt, Rinehart and Winstion.

Harold D., Lasswell. (1948). The communication of ideas. New York: Harper and Brother Publishers.

Jacobson, T.L. (1994). Modernization and post- modernization approaches to participatory communication for development. Participative communication as a part of building the participative society. In S.N. White, K.S. Nair, R.J. Ascroft (Eds.), Participatory Communication: Working for Change and Development. (pp. 60-75) Thousand Oaks, CA: Sage.

Tufte, T. and Mefaloputlos, P. (2009). Participatory communication: A practical guide. Washington D.C.: The World Bank.

United Nations. (1983). Popular participation as a strategy for promoting community level action and nation development. New York: United Nations.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29