ภูมิปัญญาการทำงอบใบลานบนฐานทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของชุมชนบางนางร้า อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • ปรรฐมาศ์ พสิษฐ์ภคกุล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • อารีวรรณ หัสดิน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • มนตรี เกตุมุณี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • วรรณยา เฉลยปราชญ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

การอนุรักษ์ภูมิปัญญา, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, งอบ, ใบลาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาภูมิปัญญาการทำงอบใบลานบนฐานทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนบางนางร้า อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการทำงอบบนฐานทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนบางนางร้า อำเภอบาง   ปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและข้อมูลภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้นำกลุ่ม และผู้ปฏิบัติงานจำนวนรวม 5 ท่าน และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหาวัตถุประสงค์ ผลการศึกษาพบว่า ภูมิปัญญาการทำงอบชุมชนบางนางร้า อำเภอบางประหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นชุมชนที่ขึ้นชื่อด้านสินค้าโอทอปโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จักสานงอบ คนในชุมชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม และดำรงชีวิตโดยนำภูมิปัญญามาใช้ในชีวิตประจำวัน เมื่อว่างเว้นจากการทำไร่ทำนา คนในชุมชนบางนางร้าจึงมีการรวมกลุ่มกันทำเครื่องจักสานเพื่อหารายได้เสริม โดยทำงอบจากใบลาน สำหรับแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการทำงอบโดยผ่านการถ่ายทอดจากครูภูมิปัญญาสู่เยาวชนและลูกหลาน ผ่านการฝึกปฏิบัติ และผ่านสื่อ เปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้แก่นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไป และเป็นวิทยากรฝึกอบรมในสถานศึกษา และประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ และเฟซบุ๊คที่มีข้อมูลการทำงอบให้แก่ผู้สนใจเรียนรู้เรื่องงอบ นอกจากนี้ชุมชนยังมีการประยุกต์งอบที่เป็นเครื่องสวมกันแดดในการทำไร่ทำนา มาลงสีและลายที่สวยงาม พัฒนาเป็นของที่ระลึก เป็นพวงกุญแจ เพื่อให้ภูมิปัญญาการทำงอบคงอยู่ต่อไป

References

จิราพร มะโนวัง, วาสนา เสภา และ กนกวรรณ ปลาศิลา. (2565). การศึกษาและยกระดับผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญา

ในตำบลแม่เปา อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 16(1), 162-175.

จุฑามาศ แหนจอน และคณะ. (2565). ขุมปัญญาหัตถกรรมพื้นบ้านเพื่อสังคมแห่งความสุขของผู้สูงอายุ

ยุคใหม่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 33(2), 14-29.

วิทยา มีกลิ่นหอม. (2561). เครื่องจักสาน. นนทบุรี: แหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ฝ่ายอุทยานการศึกษา

สำนักการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2559). เครื่องจักสาน : วัฒนธรรมร่วมในอุษาคเนย์. สืบค้น 20

เมษายน 2565, จาก http://www.thaistudies.chula.ac.th/2018/09/29/เครื่องจักสาน-วัฒนธรรม/

สมชาย ผาธรรม, ปรีดาพร อุดพ้วย, ศศิธร จ๊ะสุนา, พรธิชา เหมือนประเสริฐ และ จิราพร สมใจเพ็ง. (2563).

แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาทอผ้าพื้นเมืองไทยทรงดำ บ้านดอนมะนาว ตำบลดอนมะนาว อำเภอ

สองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 1(1), 44-52.

สุรเดช ทองแกมแก้ว, บัณฑิต ไวว่อง และ ยุทธชัย ฮารีบิน. (2563). แนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์จากความพึงพอใจ

ของนักท่องเที่ยวเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ตะกร้าจักสานจากต้นปาล์มน้ำมันของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดภูเก็ต. ใน การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ครั้งที่ 13 ประจำปีการศึกษา 2563, หน้า 1682-1689. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

หทัยชนก คะตะสมบูรณ์. (2565). การประยุกต์ใช้ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการตนเองของชุมชน

ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(9), 296-313.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29