ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผ้าปักลายไทยประยุกต์ เชิงอุตสาหกรรมของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดของผ้าปักลายไทยประยุกต์เชิงอุตสาหกรรม 2) ศึกษาการตัดสินใจซื้อผ้าปักลายไทยประยุกต์เชิงอุตสาหกรรม และ 3) ศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผ้าปักลายไทยประยุกต์เชิงอุตสาหกรรมของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 222 คน และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) กลยุทธ์ทางการตลาดของผ้าปักลายไทยประยุกต์เชิงอุตสาหกรรม ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.90 2) การตัดสินใจซื้อผ้าปักลายไทยประยุกต์เชิงอุตสาหกรรม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.02 และ 3) กลยุทธ์ทางการตลาดส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผ้าปักลายไทยประยุกต์เชิงอุตสาหกรรม ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ร้อยละ 19.00 ด้านราคา ร้อยละ 15.10 ด้านสถานที่ ร้อยละ 25.00 และด้านส่งเสริมการตลาด ร้อยละ 27.70
References
กลุ่มเศรษฐกิจการตลาดกรมศุลกากร. (2558). เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลไทยจีน [ออนไลน์].จาก https://thaibizchina.com/#section-1). กรมศุลกากร. กรุงเทพมหานคร.
เจษฎา รัตนสุนทร และคณะ. (2561). กลยุทธ์ทางการตลาดของร้านค้าปลีกผ้าไหมมัดหมี่ในเขตจังหวัดขอนแก่น. มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ฐิติมา ผการัตน์สกุล,วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2558). กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธัญญธร ศรีวิเชียร.(2561). กลยุทธ์การตลาดบริการสำหรับธุรกิจร้านผ้าพื้นเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 5(1), 60-74.
นุชดาว เตะสมุทร. (2558). การพัฒนาชุดราตรีโดยการตกแต่งด้วยเทคนิคการสานจากเศษเส้นด้ายไหม เหลือทิ้ง ของกิจการผ้าไหมบ้านครัว เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
พิมพ์นิภา รัตนจันทร์ และคณะ. (2556).พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในการซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ในจังหวัดนครราชสีมา.คณะบริหารธุรกิจ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมลคลอีสาน.
รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร. (2558). พฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือของผู้บริโภคที่เลือกซื้อจากร้านผ้าฝ้ายทอมือในเขต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ .มหาวิยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ.
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York : John Wiley & Sons.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครวารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาตของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เว้นแต่จะได้รับอนุญาติเป็นอย่างอื่น