การส่งเสริมการตลาดที่ส่งผลต่อการรับรู้คุณค่าตราสินค้ากรอบแว่นตาแบรนด์อิตาลี ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อภิญญา อภิญญาวงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • ภัทรา สุขะสุคนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

การส่งเสริมการตลาด, กรอบแว่นตาแบรนด์อิตาลี, การรับรู้คุณค่าตราสินค้า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การส่งเสริมการตลาดของกรอบแว่นตาแบรนด์อิตาลีของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร 2) การรับรู้คุณค่าตราสินค้ากรอบแว่นตาแบรนด์อิตาลีของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร และ 3) อิทธิพลของการส่งเสริมการตลาดที่ส่งผลต่อการรับรู้คุณค่าตราสินค้ากรอบแว่นตาแบรนด์อิตาลีของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริโภคที่เคยซื้อและสวมใส่กรอบแว่นตาแบรนด์อิตาลีอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน คือ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการตลาดของกรอบแว่นแบรนด์อิตาลีของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก 2) ผู้ตอบแบบสอบถามมีการรับรู้คุณค่าตราสินค้ากรอบแว่นแบรนด์อิตาลีอยู่ในระดับมาก และ3) การส่งเสริมการตลาด ด้านการโฆษณา ด้านการเผยแพร่และการประชาสัมพันธ์ และด้านการส่งเสริมการขายส่งผลต่อการรับรู้คุณค่าตราสินค้ากรอบแว่นตาแบรนด์อิตาลีของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลจากการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดของผู้จัดจำหน่ายกรอบแว่นตาแบรนด์อิตาลี พัฒนาคุณค่าตราสินค้ากรอบแว่นตาแบรนด์อิตาลี และผลการวิจัยจะช่วยให้ผู้บริหารตราสินค้ากรอบแว่นตาแบรนด์อิตาลีใช้เป็นแนวทางในการเลือกเครื่องมือการส่งเสริมการตลาดได้อย่างเหมาะสม

References

กฤติณภัทร ศิรินรกุล. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อแว่นตาในร้าน

แว่นตาทั่วไปของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: ม.ป.ท.

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2565). รายงานแนวโน้มสินค้าแบรนด์มูลค่าสูงในอิตาลี. สืบค้นเมื่อวันที่

กันยายน 2566, จาก https://www.ditp.go.th/en/post/138408

จันทร์จิรา นันตีสู้ และอุมาวสี ศรีบุญลือ. (2561). อิทธิพลของส่วนประสมการตลาดและภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีต่อการรับรู้คุณค่าตราสินค้า. RMUTT Global Business and Economics Review, 13(2), 1-16.

ณัฐกาญจน์ สุวรรณธารา และธีระ เตชะมณีสถิต. (2560). รูปแบบการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการรับรู้คุณค่าตราสินค้าระหว่างผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางตราสินค้าไทยกับตราสินค้าต่างประเทศในระบบขายตรง. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุรนารี, 8(2),41-59.

ณัฏฐชยากาญจน์ บินสุวรรณ์. (2559). แผนธุรกิจเครื่องส าอาง ZANE Cosmetics. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธิดา ตระกูลแก่นชาเดช และคณะ. (2565). แรงจูงใจของผู้บริโภคและพฤติกรรมการซื้อแว่นสายตา. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 5(1), 81-96.

ธิติมา คงชัย. (2560). คุณค่าตราสินค้าที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการซื้อรองเท้า Onitsuka Tiger ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2558). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่9). กรุงเทพฯ: สุริยาสาส์น.

ปรัชญา ดอนจินดา. (2563). พฤติกรรมการซื้อแว่นตาของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี. (รานงานการวิจัย).

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พิมพิศา อัศวศุภชัย. (2565). คุณค่าตราสินค้าและระดับของผลิตภัณฑ์ที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อแว่นตากัน

แดด Ray Ban ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยศรีนค

รินทรวิโรฒ.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุวีริยา

สาส์น.

วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2552). หลักการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ มาร์เก็ตติ้งมูฟ จำกัด.

ศศินภา เลาหสินณรงค์. (2557). คุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อ (ความตั้งใจ ความสนใจ

ความต้องการ และการตัดสินใจซื้อ) สินค้าแบรนด์เนมแท้. การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต. มหาวิยาลัยกรุงเทพ

ศูนย์วิจัยกรุงศรี. (2565). แนวโน้มธุรกิจและอุตสาหกรรมไทย ปี 2566. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 กันยายน

, จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/summary- outlook/industry-summary-outlook-2023

สุนิศา เฟื่องฟูนวกิจ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้คุณค่าตราสินค้า ราบิก้า คอฟฟี่ของผู้บริโภคในเขต

กรุงเทพมหานคร.(รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อิทธิพงค ชละธาร และพัชรหทัย จารุทวีผลนุกูล. (2564). สวนประสมทางการตลาด และคุณค่าตราสินค้า

ที่สงผลตอการตัดสินใจซื้อเสื้อผาตรายูนิโคลผ่านชองทางออนไลนของผู้บริโภคในประเทศไทย (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยรังสิต.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.

Cronbach, L. J. (1951). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins.

Kotler, P. and Armstrong, G. (2017). Principles of Marketing. London : Pearson.

Schiffman, Leon G & Kanuk, Leslie Lazar. (2007). Consumer Behavior. 9th ed. Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice – Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30