ผลกระทบและการปรับตัวในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 กรณีศึกษา: ชุมชนแฟลตสิริสาสน์

ผู้แต่ง

  • ผ่องภัสสร มรรคผล สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • แสน กีรตินวนันท์ สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

คำสำคัญ:

ผลกระทบ, การปรับตัว, โควิด 19

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่มีต่อกลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มวัยผู้สูงอายุ และศึกษาหาแนวทางการปรับตัวในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค     โควิด 19 ของกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มวัยผู้สูงอายุ ในพื้นที่ชุมชนแฟลตสิริสาสน์ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสมาชิกในพื้นที่ชุมชนแฟลตสิริสาสน์ที่อาศัยอยู่ในชุมชนมาไม่ต่ำกว่า 10 ปี จำนวน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มวัยรุ่น จำนวน 4 คน และกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 4 คน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In - depth Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) งานวิจัยนี้วิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะของการบรรยายที่เน้นการพรรณนาและการวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) เพื่อหาข้อสรุปเชิงอุปนัย (Inductive)

ผลการศึกษา พบว่า ชุมชนแฟลตสิริสาสน์ เคหะศรีย่าน มีลักษณะพื้นที่ชุมชนประเภทชุมชน อาคารสูง จำนวน 200 ห้องชุด ปัจจุบันมีผู้อยู่อาศัยทุกห้องชุด สมาชิกชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ รับจ้างทั่วไป ค้าขาย และข้าราชการ จุดเด่นของชุมชน คือ ได้รับรางวัลดีเด่นและเป็นตัวอย่างของชุมชนเข้มแข็ง จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 พบว่า ผลกระทบหลักที่มีต่อชุมชน ในด้านของเศรษฐกิจ คือ การตกงาน ทั้งนี้หลายครอบครัวไม่มีอาชีพเสริมรองรับ ซึ่งส่งผลกระทบให้รายรับที่ได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น และหลายครอบครัวต้องนำเงินออมออกมาใช้จ่าย สำหรับผลกระทบด้านสังคมที่มีต่อชุมชนในกลุ่มวัยรุ่นคือ การที่โรงเรียนมีการปรับรูปแบบเป็นการเรียนออนไลน์ ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ลดน้อยลง ในส่วนของกลุ่มผู้สูงอายุ พบว่า การที่เด็กต้องเรียนหนังสือที่บ้านเป็นการเพิ่มภาระให้ผู้ปกครอง เนื่องจากต้องอยู่บ้านดูแลบุตรหลาน อีกทั้งลักษณะของห้องชุดมีความคับแคบ บางห้องมีจำนวนสมาชิกครอบครัวจำนวนมาก เมื่อมีสมาชิกของบ้านติดเชื้อจากการออกไปทำงานนอกบ้านก็ไม่มีพื้นที่ในการแยกกักตัว ทำให้ติดต่อกันง่าย แต่จากสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้มีการเฝ้าระวังและดูแลคนในครอบครัวมากขึ้น และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต

References

กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน (2563). ผลกระทบโควิด-19 ต่อตลาดแรงงาน.

กรมควบคุมโรค. (2563ก). ข้อมูลเกี่ยวกับ COVID-19 | ไวรัสโคโรนาในประเทศไทย. [ออนไลน์]. ค้น

เมื่อ 15 เมษายน 2565, จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php.

กรมควบคุมโรค. (2563ข). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15

เมษายน 2565, จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/faq_more.php.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2563). ผลกระทบทางสังคมจากการระบาด

ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และวิกฤตเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: กระทรวงการ

พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

เกวรินทร์ ฤกษ์ดำเนินกิจ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการก่อหนี้ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ของ

บุคลากร เทศบาลเมืองบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เนื้อแพร เล็กเฟื่องฟู และคณะ (2563). เมื่อโควิด ปิดเมือง ผลกระทบต่อแรงงานไทยในมิติ supply

side. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 เมษายน 2565, จาก

https://www.pier.or.th/abridged/2020/08/ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 137 ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 “ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563

รัฐบาลไทย. (2565). รายงานสถานการณ์ COVID-19 ประจำวัน [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 เมษายน

, จาก: https://www.thaigov.go.th /news/contents/details/29299.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). รายงานผลสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ.

กรุงเทพฯ : สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สุพัตรา รุ่งรัตน์, ซูลฟีกอร์ มาโซ และยุทธนา กาเด็ม. (2563). ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากสถานการณ์

โควิด-19 (รายงานผลการวิจัย). คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

Chinese Asia ( CNA) .(2020). Thailand confirms first- human- to- human coronavirus

transmission, total case rises to 19. 31 January 2020. Archived from the original on 31 January 2020.

Du Toit A. (2020). Outbreak of a novel coronavirus. Nat Rev Microbiol 2020,18(3) : 123.

Elizabeth C.. (2020). Wuhan Pneumonia : Thailand confirms first case of virus outside China.

South China Morning Post. Archived from the original on 13 January 2020.

Zhu N, Zhang D, Wang W, Li X, Yang B, Song J, et al. (2019). A novel coronavirus from

patients with pneumonia in China, 2019. The New England Journal of Medicine, 383(8):

-733.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-28

How to Cite

มรรคผล ผ. ., & กีรตินวนันท์ แ. . (2024). ผลกระทบและการปรับตัวในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 กรณีศึกษา: ชุมชนแฟลตสิริสาสน์. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลพระนคร Journal of Liberal Arts Rajamangala University of Technology Phra Nakhon, 4(2), 1–15. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/LiberalJ/article/view/6354