ส่วนประสมการตลาดบริการที่ลูกค้าใช้ตัดสินใจเลือกร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ประเภทปิ้งย่าง สุกี้ และชาบูชาบูในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ปนัตตา เอียดศรีแก้ว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • ภัทรา สุขะสุคนธ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

ส่วนประสมการตลาดบริการ, การตัดสินใจ, ร้านบุฟเฟ่ต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาส่วนประสมการตลาดบริการที่ลูกค้าใช้ตัดสินใจเลือกร้านอาหารบุฟเฟต์ประเภทปิ้งย่างสุกี้และชาบูชาบูในกรุงเทพมหานคร และ 2) เปรียบเทียบส่วนประสมการตลาดบริการที่ลูกค้าใช้ตัดสินใจเลือกร้านอาหารบุฟเฟต์ประเภทปิ้งย่าง สุกี้ และชาบูชาบู ในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ลูกค้าที่มาทานอาหารบุฟเฟ่ต์ประเภทปิ้งย่าง สุกี้ และ     ชาบูชาบูในกรุงเทพมหานครเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน คือ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่

ผลการวิจัยพบว่า 1) ลูกค้าให้ความสำคัญกับส่วนประสมการตลาดบริการที่ใช้ตัดสินใจเลือกร้านอาหารบุฟเฟต์ประเภทปิ้งย่าง สุกี้ และชาบูชาบูในกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) ลูกค้าที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้แตกต่างกัน ใช้ส่วนประสมการตลาดบริการในตัดสินใจเลือกร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ประเภทปิ้งย่าง สุกี้ และชาบูชาบูในกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ผลจากการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงส่วนประสมการตลาดบริการของร้านอาหารบุฟเฟต์ประเภทปิ้งย่าง สุกี้ และชาบูชาบูในกรุงเทพมหานครให้สามารถสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น

References

กรรญา เสริมศักดิ์ศศิธร. (2563). พฤติกรรมและส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการ

ร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ ชาบูชาบูชิ ของพนักงานในเขตนิคมอมตะนคร ชลบุรี. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นัยยุณี คล้ายบุตร. (2565). การตัดสินใจในการเลือกใช้บริการร้านอาหารบุฟเฟต์ชาบูชาบูของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ผู้จัดการออนไลน์. (2566). เปิดสูตร CRG ปรุงอาหารยึดตลาด ชี้ 7 เทรนด์ท้าทาย[ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2566, จาก https://mgronline.com/business/detail/9660000028885.

วิลาสินี พิพัฒน์พัลลภ, เอก บุญเจือ และวรัท วินิจ. (2558). พฤติกรรมผู้บริโภคในการใช้บริการร้านอาหาร

บุฟเฟต์ปิ้งย่าง สไตล์ญี่ปุ่นในอำเภอเมืองเชียงใหม่. CMU Journal of Business, 1(4), 212–288.

สุชาวลี ศิริพิทยาไพศาล. (2562). ปัจจัยทางธุรกิจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons. Inc.

Cronbach, L. (1984). Essential of Psychological Testing. 4th ed. New York: Harper.

Hungryhub. (2565). แอปจองบุฟเฟ่ต์[ออนไลน์].ค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2566, จาก https://web.hungryhub.com.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-28

How to Cite

เอียดศรีแก้ว ป. ., & สุขะสุคนธ์ ภ. (2024). ส่วนประสมการตลาดบริการที่ลูกค้าใช้ตัดสินใจเลือกร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ประเภทปิ้งย่าง สุกี้ และชาบูชาบูในกรุงเทพมหานคร. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลพระนคร Journal of Liberal Arts Rajamangala University of Technology Phra Nakhon, 4(2), 32–43. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/LiberalJ/article/view/6356