การพัฒนาหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตสำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

ผู้แต่ง

  • กษิดิ์เดช สุทธิวานิช คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • วรัญญา สมศิริ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • ธนวัฒน์ สุดจิตร์สมโภชน์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • สุจินดา อิ่มเงิน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • ญาณินท์ สายหยุด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • นปภัช ถิรพัฒน์ธนโภคิน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • ปัณณภัสร์ เลิศวริษฐ์กุล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการพัฒนาหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตสำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล         มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์โครงสร้างและรูปแบบของหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตในประเทศไทยเพื่อปรับใช้กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 2) วิเคราะห์บริบทและกฎระเบียบของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลและมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต 3) เสนอแนะแนวทางการจัดทำหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลให้เป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาและคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลต้องมีการจัดทำร่างหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตที่มีมาตรฐานตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาวิชานิติศาสตร์ พ.ศ. 2561 โดยกำหนดเป้าหมาย เอกลักษณ์ และผลลัพธ์ให้ชัดเจน เน้นกลไกตามยุทธศาสตร์การจัดการเรียนการสอน ซึ่งเป็นมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาที่ประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2565 สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดทำหลักสูตรนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลได้ และส่งเสริมให้บัณฑิตศึกษาต่อในหลักสูตรเนติบัณฑิต และมีการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบคลังหน่วยกิต สำหรับการร่างหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสามารถนำภูมิหลังหรือพื้นฐาน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาประยุกต์หรือบูรณาการกับการสร้างรายวิชาทางด้านนิติศาสตร์ โดยมุ่งเน้นกฎหมายเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กฎหมายเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ นวัตกรรม กฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจ กฎหมายภาษีและแรงงาน และกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน เป็นต้น

References

คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ. (2561). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐาน

คุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาวิชานิติศาสตร์ พ.ศ. 2561 [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2565, จากhttps://dl.parliament.go.th/backoffice/viewer2300/web/previewer.php

ประกิต บุญมี และคณะ. (2563). ทิศทางการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรนิติศาสตร์บัณฑิต

สถาบันอุดมศึกษาในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2563-2572). วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสยาม.

ปริวัฒน์ จันทร์ทรง, อภินันท์ ศรีศิริ, ภิรมย์พร ไชยยนต์ และขวัญเรือน ลีโคกกลาง. (2560). ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกเรียนสาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี. 1(2): 1-19.

พรเพ็ญ ไตรพงษ์ และคณะ. (2557). ลักษณะหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตในประเทศไทยเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2558. กรุงเทพฯ : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา, 134 (40), 50[ออนไลน์].

ค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2565, จาก https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/2103519.pdf

วิกิพีเดีย. (2565). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2565, จาก

https://th.wikipedia.org/wiki

เสกสรรค์ สนวา,สุพัฒนา ศรีบุตรดี และวรฉัตร วริวรรณ. (2567). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษา

ต่อระดับปริญญาตรี คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น.8(2) : 15-30; DOI : https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2024.25

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-28

How to Cite

สุทธิวานิช ก. ., สมศิริ ว., สุดจิตร์สมโภชน์ ธ., อิ่มเงิน ส. ., สายหยุด ญ. ., ถิรพัฒน์ธนโภคิน น. ., & เลิศวริษฐ์กุล ป. (2024). การพัฒนาหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตสำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลพระนคร Journal of Liberal Arts Rajamangala University of Technology Phra Nakhon, 4(2), 54–65. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/LiberalJ/article/view/6361