บทบาทร้านกาแฟที่ส่งเสริมความเป็นย่านสร้างสรรค์ของซอยอารีย์ กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อธิกัญญ์ เหลืองสกุลพงษ์ สาขาวิชาการพัฒนาและจัดการเมือง วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

คำสำคัญ:

บทบาทร้านกาแฟ, ย่านสร้างสรรค์, ความสามารถในการแข่งขัน, พื้นที่ที่สามของเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องบทบาทร้านกาแฟที่ส่งเสริมความเป็นย่านสร้างสรรค์ของซอยอารีย์ กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์บทบาทของร้านกาแฟในการส่งเสริมการเป็นย่านสร้างสรรค์ให้กับเมือง ทั้งบทบาททางเศรษฐกิจ สังคม และกายภาพ (2) เสนอแนะแนวทางในการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ด้วยธุรกิจร้านกาแฟในย่านอื่น ๆ ของกรุงเทพมหานครต่อไป รูปแบบของการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบผสมผสาน โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้ (1) เชิงปริมาณ เป็นการเก็บข้อมูลจากผู้เข้ามาใช้บริการร้านกาแฟในย่านอารีย์จำนวน 400 คน จากร้านที่เป็นตัวแทนในแต่ละประเภทที่ถูกคัดเลือกจากกลุ่มประชากร โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ (2) เชิงคุณภาพ เป็นการเก็บข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงจากกลุ่มเจ้าของธุรกิจร้านกาแฟ โดยการสัมภาษณ์ การสังเกต การศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและนำมาวิเคราะห์

               ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบร้านกาแฟในซอยอารีย์ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ตอบสนองความสนใจของลูกค้าแต่ละกลุ่ม ทั้งร้านกาแฟบรรยากาศดั้งเดิม แบบร่วมสมัย การรีโนเวทบ้านเก่า หรือร้านกาแฟในพื้นที่จำกัด โดยบทบาทของร้านกาแฟในการส่งเสริมความเป็นย่านสร้างสรรค์ของซอยอารีย์ สามารถจำแนกได้เป็น 3 ด้าน ได้แก่ บทบาททางด้านเศรษฐกิจที่ค่อนข้างจำกัด บทบาททางด้านสังคมที่โดดเด่นในการเป็นพื้นที่ที่สามของเมือง และบทบาททางด้านกายภาพที่ส่งเสริมการเติบโตทางกายภาพของย่าน และสร้างความมีชีวิตชีวาให้กับย่าน ซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถของเมืองด้านคุณภาพชีวิตของประชากร อย่างไรก็ตาม จากข้อจำกัดในบทบาทด้านเศรษฐกิจสามารถนำไปสู่การออกนโยบายสนับสนุนธุรกิจร้านกาแฟ เพื่อให้ตอบสนองด้านพลวัตของเศรษฐกิจท้องถิ่น และส่งเสริมความเป็นย่านสร้างสรรค์ให้ได้รับการพัฒนา อย่างยั่งยืนต่อไป

References

เกียรติกร พันวา. (2557). การศึกษารูปแบบวัฒนธรรมกาแฟ ในเขตเทศบาลนครขอนแก่นเพื่อส่งเสริมการ

ท่องเที่ยวรูปแบบเมือง. การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จันจิรา ยีมัสซา. (2565). “อารีย์” ย่านน่าอยู่ติดอันดับโลก วัดจากวิถีชีวิต-แหล่งความคิดสร้างสรรค์ [ออนไลน์].ค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2565.จาก https://www.springnews.co.th/spring-life/821404.

ธนพร พันธุ์นารา. (2564). ร้านกาแฟในบทบาทการเป็นเครื่องมือสร้างสรรค์ย่านเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว. เชียงใหม่ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี :

สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

ปรางวลัย พูลทวี. (2560). อารีย์ ย่านเก่าที่ยังร่วมสมัย[ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2565.

จาก : https://themomentum.co/savvi-condo-advertorial/

มนฑิณี ยงวิกุล. (2565). Creative City : เมืองสร้างสรรค์คืออะไร[ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2565,

จาก : https://www.creativethailand.org/view/article-read?article_id=17453.

วัญวิริญจ์ แจ้งพลอย. (2558). กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในการดำเนินธุรกิจร้านกาแฟ

ของผู้ประกอบการรายย่อย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. กรุงเทพฯ : บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิเชียร โสมวิภาต. (2563). การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภคกาแฟสดร้าน

ALL CAFÉ ในจังหวัดนครสวรรค์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7(12), 160 – 177.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2565). “อารีย์ มีดีอะไร? จากย่านสุดฮิป...สู่การยกระดับเป็น “เมืองฉลาดรู้”

[ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2567. จาก http://www.nia.or.th/AriInnovationDistrict.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน). (2565). ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์[ออนไลน์]. ค้น

เมื่อ 26 มิถุนายน 2565, จาก https://www.cea.or.th/th/creative-district.

องค์การยูเนสโก. (2020). UNESCO Creative Cities Network. (UCCN). รู้จักกับเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์

ของยูเนสโก[ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2565, จาก : https://unesco.org/creative-cities.

เอส เอ็ม อี ธนาคารกรุงเทพ. (2559). กาแฟรุ่งเครือข่ายร้านกาแฟแห่ผุดเป็นดอกเห็ด[ออนไลน์]. ค้นเมื่อ26

มิถุนายน 2565, จาก: https://www.bangkokbanksme.com/article/1743.

Creative Economy Agency. (2563). เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2563 Bangkok Design Week 2020

(BKKDW2020) [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2565, จากhttps://www.cea.or.th/en/single-district-program/bkkdw2020.

Porter, M. E. (1998). Clusters and the New Economics of Competition. Harvard Business

Review.

HABITAT, U. (2015). Enhancing the Competitiveness of Cities (No. 4). Discussion Paper.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-28

How to Cite

เหลืองสกุลพงษ์ อ. . (2024). บทบาทร้านกาแฟที่ส่งเสริมความเป็นย่านสร้างสรรค์ของซอยอารีย์ กรุงเทพมหานคร. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลพระนคร Journal of Liberal Arts Rajamangala University of Technology Phra Nakhon, 4(2), 66–78. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/LiberalJ/article/view/6362