การจัดการผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนสินค้าเกษตรและแปรรูปบ้านสามแยก ตำบลลำโพ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • เมริกา พลังเดช คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • ปาริชาติ ช้วนรักธรรม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

ส่วนประสมการตลาด, วิสาหกิจชุมชน, จังหวัดนนทบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพแวดล้อมของวิสาหกิจชุมชนสินค้าเกษตรและแปรรูปบ้านสามแยก ตำบลลำโพ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี  และ 2) เพื่อศึกษาส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนสินค้าเกษตรและแปรรูปบ้านสามแยกตำบลลำโพ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี เป็นการวิจัยแบบผสมผสานเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) วิเคราะห์สภาพแวดล้อม SWOTs กลุ่มเป้าหมายคือ สมาชิกวิสาหกิจชุมชน และบุคลากรภาครัฐในพื้นที่ตำบลลำโพ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี จำนวน 15 คน และเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนทั่วไป จำนวน 400 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) โดยใช้สถิตเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ผลการวิจัยพบว่า

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสินค้าเกษตรและแปรรูปบ้านสามแยก ตำบลลำโพ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี มีอาชีพหลักจำหน่ายข้าวเกรียบ โดยมีกระบวนการผลิตการแปรรูปจากเห็ดนางฟ้า และพืชผลทางการเกษตร มีศักยภาพด้านผู้นำ มีการส่งเสริมสนับสนุนให้สมาชิกเกิดความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทาง เป้าหมายการดำเนินงานรวมถึงการวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค การปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์และการดำเนินงานของกลุ่ม พบว่า จุดอ่อนของกลุ่ม คือ การส่งเสริมการตลาดยังขาดสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง รวมถึงสมาชิกกลุ่มขาดความรู้ในการส่งเสริมการตลาดออนไลน์ บนแพลตฟอร์มออนไลน์ และส่วนประสมการตลาดผลิตภัณฑ์ตามหลัก 8P พบว่า ตัวอย่างให้ความสำคัญในระดับมาก และเมื่อพิจารณา รายด้านพบว่าด้านที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญสูงสุดคือ ด้านผลิตภัณฑ์ รองลงมาคือ ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการใช้พลัง

References

กมลวรรณ เทพสุวรรณ. (2560). การศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดของผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่น. สาร

นิพนธ์. ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.

ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน และคณะ.(2566). การส่งเสริมปัจจัยทางการตลาดสินค้าชุมชนที่ตอบโจทย์

พฤติกรรม ของผู้บริโภคในจังหวัดชุมพร. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 10(2) : 181-210.

ธนภณ นิธิเชาวกุล. (2562). การจัดการการตลาด. เอกสารคำสอน. ชลบุรี: คณะการจัดการ

และการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชวนชม มงคลธวัช จินดา ขลิบทอง เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ .(2564). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงาน

ของวิสาหกิจชุมชนในอำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 11,วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2564

ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2097-2109.

สุภาพร เพชรัตน์กูล ชัชวาล แสงทองล้วน กาญจนา พันธุ์เอี่ยม และ อธิธัช สิรวริศรา. (2566). การ

พัฒนากลยุทธ์การตลาดสำหรับวิสาหกิจชุมชนในกลุ่มประเภทอาหารแปรรูป จากสับปะรด ในเขตภาคกลางตอนล่าง กลุ่ม 2. วารสารวิชาการการจัดการภาครัฐและเอกชน, 5(1) : 64-82.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2565). รายงานประจำปี 2565 สำนักงาน

ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.กรุงเทพฯ : สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)

Cochran, W.G. 1953. Sampling Techniques. New York : John Wiley & Sons, Inc.

Kotler, P. and Armstrong, G. (1997).Marketing An Introduction. 4 thed. New Jersey. Prentince

Hall International.

McCarthy, E. Jerome &. Perreault William D, Jr. (1990). Basic Marketing.10th ed. Illinois.

Ridchard D. Irwin,Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-30

How to Cite

พลังเดช เ., & ช้วนรักธรรม ป. . (2025). การจัดการผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนสินค้าเกษตรและแปรรูปบ้านสามแยก ตำบลลำโพ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลพระนคร Journal of Liberal Arts Rajamangala University of Technology Phra Nakhon, 5(1), 66–79. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/LiberalJ/article/view/8371