ผลการใช้ชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติและปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก โดยวิธีการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ปรีชา วันโนนาม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติและปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก โดยวิธีการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์ และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์โดยวิธีการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียน  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2  โรงเรียนวัดหนองจอก เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)  โดยวิธีจับสลาก 1 ห้องเรียน จากห้องเรียนทั้งหมด 6 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 1) ชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ


             ผลการศึกษาพบว่า 1. ชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์ ที่พัฒนาขึ้น มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 = 90.48/80.5  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01   3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.81 อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2548). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอนกลุ่มทักษะ(คณิตศาสตร์) ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ:กลุ่มวิจัยพัฒนาการเรียนรู้ กองวิจัยทางการศึกษา.

________. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

แก้วใจ ไชยชาติ. (2559, 17 มกราคม). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่องบทประยุกต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปที่5.ครูบ้านนอก.คอม, http://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id= 126309&bcat_id=16.

ก้าวทุกวินาที (2558, 29 ตุลาคม). จิตวิทยาในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์.สหวิชา. คอม, http://www.sahavicha.com/?name=article&file= readarticle&id=290.

จีราพร หล้าคำปา. (2560, 1 มกราคม). การพัฒนาชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาว การชั่ง การตวง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์.ครูบ้านนอก.คอม, http://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=133936.

สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์. (2559,29 กุมภาพันธ์). สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ประกาศผลโอเน็ต ม.6. เดลินิวส์ ,http://www.dailynews.co.th/education/387009.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : ด่านสุทาการพิมพ์.

นุจรินทร์ สิทธิเลิศประสิทธิ์. (2550). การพัฒนาชุดการเรียนการสอน เรื่อง ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 โดยใช้แหล่งเรียนรู้ธรรมชาติบริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาสมโภชน์ จังหวัดลพบุรี [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญชม ศรีสะอาด (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

บุษบา โคตพันธ์. (2560, 1 มกราคม). รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์เรื่อง โจทย์ปัญหาการหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยวิธีสอนแบบร่วมมือกันแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD)ร่วมกับเทคนิคKWDL. ครูบ้านนอก. คอม,http://www.kroobannok. com/createpdf_abstract.php?b_id=130130.

เผชิญ กิจระการ. (2544). การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา (E1/E2). วารสารการวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 7(2):44-52.

มณีรัตน์ อยู่เย็น. (2560, 1 มกราคม). การพัฒนาชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน และ การบวก การลบ การคูณ การหารเศษส่วนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านวารไพรศรี จังหวัดสุรินทร์.ครูบ้านนอก.คอม, http://www.kroobannok. com/board_ view.php?b_id=74428&bcat_id=16.

ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2553). นวัตกรรมตามแนวคิดแบบ Backward Design. พิมพ์ครั้งที่ 3. กาฬสินธุ์: ประสานมิตร. เว็บไซต์เพื่อการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์.(2558, 29 ตุลาคม). การจัดการเรียนรู้แบบSTAD. https://sites.google.com/site/khunkrunong/3-1.

สมคิด จิตละม่อม. (2559, 18 มกราคม). รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ครูบ้านนอก.คอม, http://www.kroobannok.com/board_view. php?b_id=132488&bcat_id=16.

สายสมร เอี่ยมอ่องกิจ. (2552). การพัฒนาชุดการเรียนด้วยตนเองเรื่องรามเกียรติ์ ตอนศึกไมยราพด้วยภาพการ์ตูน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ.[วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. http://www.sereesolution.com/ich/khon_performance/ich_detail.php?id=674.

ฮาซีนี ฮายอ. (2559, 17 มกราคม). การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับโดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ครูบ้านนอก.คอม, http://www.kroobannok.com/board_view.php?b.

Slavin,R.E. (1995). Cooperative Learning : Theory, research and practice. ( 2nded). Massachusetts : Simon & Schuster.