คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานวิเคราะห์สินเชื่อบริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง(ประเทศไทย)จำกัด

Main Article Content

วศินี หล้าแดง

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานวิเคราะห์สินเชื่อ บริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานวิเคราะห์สินเชื่อ บริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด และ 2) ศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานวิเคราะห์สินเชื่อ บริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานวิเคราะห์สินเชื่อ บริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) ผู้ศึกษาสร้างขึ้นจากการศึกษาทฤษฎีจากนักวิชาการ เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยส่วนบุคคล และคุณภาพชีวิตการทำงาน กำหนดเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 35 ข้อ ผู้วิจัยนำแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยโดยหาความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (Reliability) ได้เท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐานหรือสถิติที่ใช้ในการเปรียบเทียบ t-test Independent), One-way ANOVA และเปรียบเทียบรายคู่โดยใช้ LSD


ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานวิเคราะห์สินเชื่อ บริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 36 - 45 ปี มีสถานภาพสมรส การศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้ต่อเดือนระหว่าง 15,000 – 25,000 บาท มีระดับคุณภาพชีวิตการทำงาน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.01, S.D.= 0.201) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านสิทธิตามธรรมนูญในองค์กร อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ด้านการให้สิ่งตอบแทนที่เหมาะสมและยุติธรรม ด้านการบูรณาการทางสังคมหรือการทำงานร่วมกัน ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ด้านความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคม ด้านการพัฒนาความสามารถของบุคคล และด้านจังหวะชีวิตโดยส่วนรวม ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเพศ อายุ สถานภาพสมรส และรายได้ต่อเดือน ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน ภาพรวม และรายด้าน ไม่แตกต่างกัน และในด้านระดับการศึกษา ภาพรวม ไม่แตกต่างกัน แต่พบความแตกต่างด้านการให้สิ่งตอบแทนที่เหมาะสมและยุติธรรม (Sig. = 0.040) จำนวน 2 คู่ สำหรับข้อเสนอแนะจากการศึกษา บริษัทฯ ควรพิจารณาปรับปรุงนโยบายในเรื่องของเวลาการทำงานและวันหยุดพักผ่อนให้ยืดหยุ่นกับการทำงานจริงของพนักงานวิเคราะห์สินเชื่อ เพื่อให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตในการทำงานด้านจังหวะชีวิตโดยส่วนรวมที่ดีขึ้นได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนสุดา เพ็งกู่ และพิชิต รัชตพิบุลภพ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากร สังกัดกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(1), 167–177.

นิรัชพร มหาศาล, กรรณิการ์ จำปาแขม, พัทธมน ชูกุล, จริยาพร สังข์สว่าง, อารยา นัยวัฒน์ และภาณุวัฒน์ หอมดวง. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์กร คุณภาพชีวิตในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน : กรณีศึกษาบริษัท อ๊าร์ - เสรีนา ปิสตัน จำกัด. การประชุมผลงานการวิจัยและวิชาการ นวัตกรรมธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ. วันที่ 7 พฤษภาคม 2561. มหาวิทยาลัยรังสิต.

ปัจจัยญา ปูสัญจร. (2559). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานบริษัท จี-เน็ท เน็ทเวิร์คโซลูชั่น จำกัด. [ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

เปล่งแข ลางคลิจันทร์. (2554). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) เขต 21. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปิยวรรณ พฤกษะวัน และกาญจนาท เรืองวรากร. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานบริษัทกรณีศึกษา บริษัท ควอลิตี้ เทรดดิ้ง จำกัด. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ. 3(4), 290–308.

พิทยุตม์ โตขำ, เพชรน้อย เวทยประสิทธิ์ และสุกัญญา ตันธนวัฒน์. (2561). อิทธิพลของปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีต่อความผูกพันองค์การของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. การประชุมผลงานการวิจัยและวิชาการ นวัตกรรมธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ. วันที่ 7 พฤษภาคม 2561. มหาวิทยาลัยรังสิต.

พรพิมล พงษ์โหมด. (2560). คุณภาพชีวิตในการทำงาน ความเหนื่อยหน่ายในงานและความตั้งใจลาออกของพยาบาลแผนกวิกฤตโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ยุทธนา พีระยุทธ และวินิจฉัย รังสิธนานนท์. (2551). การศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน). [ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจ สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์] มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

มณฑกานต์ อุดมศรีรัตน์. (2555). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานบริษัท นพดลพานิช จำกัด. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วาณิชญา มานิสสรณ์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงาน การรับรู้บรรยากาศองค์การกับความตั้งใจที่จะลาออกของพนักงานโดยมีความผูกพันธ์ต่อองค์การเป็นตัวแปรสื่อ. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วธู สวนานนท์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะงาน คุณภาพชีวิตในการทำงาน และความผูกพันของพนักงานต่อองค์การรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สราวลี แซงแสวง. (2559). คุณภาพชีวิตในการทำงานและความสมดุลของชีวิตในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการเจนเนอเรชั่น X และเจนเนอเรชั่น Y. [ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมพงศ์ รัตนนุพงศ์. (2558). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานศูนย์ข่าว SMM.[ภาคนิพนธ์พัฒนาแรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สายชล คงทิม. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. [ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกริก.

อัจฉรา เนียมหอม. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ คุณภาพชีวิตการทำงาน และความผูกพันต่อองค์การ : กรณีศึกษาธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน). [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เอกลักษณ์ ชุมภูชัย. (2561). การศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษา พนักงานที่ทำงานอยู่ภายในการดูแลของบริษัท สกิลพาวเวอร์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด (แมนพาวเวอร์ ลำพูน). [ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

อนันต์ชัย คงจันทร์. (2557). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ Human Resource Management. (พิมพ์ครั้งที่ 1). หจก. ภาพพิมพ์.

อารียา การดี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อรวรา กล้าหาญ. (2563), คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Dessler, Gary. (1997). Human Resource Management. Upper Saddle River, New Jersey: Prentice – Hall. Schuler, R. S.; Butell, N. J. and Youngblood, S.A. (1989). Effective Personal Management. 3rd ed. Minnesota: Nest Publishing.

Werther. W.B, Jr. and Davis. k. (1989). Human resources and personnel management. 4th ed. New York: McGraw-Hill.

Yamane, Taro. (1973). Statistics an Introduction Analysis. 2nd ed. New York: Harper and Row Publisher