การพัฒนาสมรรถนะของทุนมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของ วิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

อัญยาณีย์ เกตุพันธุ์
อรกัญญา กันธะชัย
สุรินทร์ พิทักษ์สิกุล

บทคัดย่อ

           งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการพัฒนาสมรรถนะของทุนมนุษย์ และระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงราย และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยการพัฒนาสมรรถนะของทุนมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงรายโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ สมาชิกวิสาหกิจชุมชน ในจังหวัดเชียงราย จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


          ผลการศึกษา พบว่า 1) ระดับปัจจัยการพัฒนาสมรรถนะของทุนมนุษย์ ประกอบด้วย 1) ปัจจัยด้านทางกาย 2) ปัจจัยทางจิตใจ และ 3) ปัจจัยทางปัญญา โดยค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สำหรับระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของวิสาหกิจชุมชน ประกอบด้วย 1) ด้านผลสำเร็จของงาน 2) ด้านการทำงานบรรลุวัตถุประสงค์ และ 3) ด้านความรับผิดชอบต่องาน โดยค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) ปัจจัยการพัฒนาสมรรถนะของทุนมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของวิสาหกิจชุมชน ในจังหวัดเชียงราย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ประกอบด้วย 1)  ปัจจัยทางกายภาพ และ 2)  ปัจจัยทางปัญญา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window. (พิมพ์ครั้งที่ 12). ห้างหุ้นส่วนจํากัด สามลดา.

กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2557). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. ปัญญาชน.

ชัชากร คัชมาตย์. (2564). ความขัดแย้งระหว่างบุคคลและความขัดแย้งภายในองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตตำบลท่าพลจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), 155-167.

ธนกร ธีระวุฒิชัยกิจ. (2562). ปัจจัยการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการอ่านนวนิยายในกลุ่มเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ และเจเนอเรชั่นเอ็กซ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธีระพล เจริญสุข. (2564). การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรกรมสรรพสามติในเขตกรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ธนวรรณ เจริญทิพย์. (2561). ผลของทุนทางปัญญา (INTELLECTUAL CAPITAL) ต่อการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภวินท์ธนา เจริญบุญ และสุวิตา พฤกษอาภรณ์. (2565). การพัฒนาทุนมนุษย์เพิ่มขีดความสามารถของวิสาหกิจชุมชนด้วยทุนวัฒนธรรมหลังวิถีใหม่ของจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(5), 389-415.

วีณา พึงวิวัฒน์นิกุล. (2562). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ร่วมสมัย. [เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์]., มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุดารัช ชัยศรี. (2563). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานผู้ให้บริการทางการแพทย์และการพยาบาล ของโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานคร. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อรุณเดช มารัตน์ อนันต์ ธรรมชาลัย และ ชัยวุฒิ จันมา. (2565). ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการทุนมนุษย์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. คณะรัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

Best, J., & Kahn, J. V. (1993). Research in Education. (7th ed.). Allyn and Bacon.

Bin Wu. (2020). Performance Improvement. Government Performance Management in China. (pp. 253-275).

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). Harper Collins Publishers. (pp. 202-204).

Gilbert Paquette, Olga Marino & Rim Bejaoui. (2021). A new competency ontology for learning environments personalization. Paquette et al. Smart Learning Environments, 8(16), 1-23.

Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbein, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement. (pp. 90-95).

Yun Wei, Feiyue Wang, Zhaolu Pan, Meirong Wang, Guanghui Jin, Yanli Liu & Xiaoqin Lu. (2021). Development of a competency model for general practitioners after standardized residency training in China by a modifed Delphi method. BMC Family Practice, 22(171), 1- 14.