การรับรู้ข้อมูลด้านศักยภาพการใช้ภาษาอังกฤษจากสื่อสังคมออนไลน์ของตำรวจท่องเที่ยว

Main Article Content

อชิตา ตาครู

บทคัดย่อ

            การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้ข้อมูลด้านศักยภาพการใช้ภาษาอังกฤษจากสื่อสังคมออนไลน์ของตำรวจท่องเที่ยว 2) เพื่อศึกษาปัญหาการรับรู้ข้อมูลด้านภาษาอังกฤษจากสื่อสังคมออนไลน์ของตำรวจท่องเที่ยว 3) เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์ในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของตำรวจท่องเที่ยว และ 4) เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้และปัญหาการรับข้อมูลด้านภาษาอังกฤษจากสื่อสังคมออนไลน์และการใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์ในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของตำรวจท่องเที่ยวจำแนกต่างเพศ อายุและระดับการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ คือตำรวจท่องเที่ยว จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การทดสอบค่าเอฟ และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของฟิชเชอร์ โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการวิจัยสรุปได้ว่า


            ตำรวจท่องเที่ยวใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการรับรู้ข้อมูลการใช้ภาษาอังกฤษ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน คือ ด้านการแสดงความคิดเห็น/การโต้ตอบ การรับรู้ข้อมูล และการแชร์ การโพสต์ ตามลำดับ ตำรวจท่องเที่ยวมีปัญหาในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีปัญหาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน คือ ด้านการแสดงความคิดเห็น/การโต้ตอบ มีการโพสต์ และการรับข้อมูล การแชร์ ตามลำดับ ตำรวจท่องเที่ยวมีความคิดเห็นต่อการใช้ประโยชน์ของสื่อสังคมออนไลน์ในการพัฒนาศักยภาพภาษาอังกฤษ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษทั้งการอ่านและการฟัง การพูดและการเขียน อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน


          ตำรวจท่องเที่ยวที่มีเพศต่างกัน มีการใช้และปัญหาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ และการใช้ประโยชน์ของสื่อสังคมออนไลน์ในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษไม่แตกต่างกัน ตำรวจท่องเที่ยวที่มีอายุแตกต่างกัน มีการใช้และปัญหาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ไม่แตกต่างกัน แต่ตำรวจท่องเที่ยวที่มีอายุแตกต่างกัน มีการใช้ประโยชน์ของสื่อสังคมออนไลน์ในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแตกต่างกัน ตำรวจท่องเที่ยวที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีการใช้และปัญหาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ รวมทั้งการใช้ประโยชน์ของสื่อสังคมออนไลน์ในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษฎา เลิศสถิตไพโรจน์ และอัจฉราพรรณ จรัสวัฒน์. (2561). ศึกษาสมรรถนะหลักของเจ้าหน้าที่ตำรวจสังกัดกองบังคับการตำรวจท่องเที่ยวในการเตรียมพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน, วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ. 2(2), 3-24

กัญญาภัทร แสงแป้น. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบเน้นภาระงานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. วารสารวิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค. 28(1), 109-125.

นรนท สินภิบาล และศรุตา สมพอง. (2562). ความรับผิดชอบของกองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 19(4), 93-103.

นิภาวรรณ นวาวัตน์ และณัฎฐนา ลีฬหรัตนรักษ์. (2563). การพัฒนารูปแบบการสอนทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารแบบเน้นภาระงานร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม. 14(3), 593-608.

Chinwe, U. V. (2015). The English Language of the Nigeria Police. Journal of education and practice, 6(22), 1-3.

Karl, J. B. (2016). Limitless learning: Assessing social media use for global workplace learning. The Learning Organization, 23(4), 249-270

Nordin, N., & Abdul Khalid, S. N. (2021). Tourist police service quality and service culture influence on tourists’ confidence. Journal of Tourism, Hospitality and Culinary Arts, 13(1), 15-36.

Pradeep, N. C. (2017). Policing tourism: Challenges and opportunities of tourist police system in India. Evolving Paradigms in Tourism and Hospitality in Developing Countries: A Case Study of India, 26-57.

Siwayingsuwan, P. (2015). Needs and problems in English listening and speaking of tourist police officers at Suvarnabhumi airport. Language Institute, Thammasat University.

Wahyuni, H., Purnomo, E. P., & Fathani, A. T. (2021). Social media supports tourism development in the COVID-19 normal era in Bandung. Jurnal Studi Komunikasi, 5(3), 600-616.