คุณภาพชีวิตการทำงานของกำลังพล กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 152

Main Article Content

อัสมีน ยูโซะ

บทคัดย่อ

            การวิจัยเรื่อง คุณภาพชีวิตการทำงานของกำลังพล กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 152 มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของกำลังพล 2) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของกำลังพล กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 152 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกำลังพล กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 152 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กำลังพล กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 152 ที่ปฏิบัติภารกิจการพัฒนา รักษาความมั่นคงภายใน และให้ความปลอดภัยแก่ประชาชน รวมทั้งเพื่อให้การแก้ไขปัญหาสถานการณ์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 181 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test, F-test สำหรับทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรมากกว่า 2 ตัวแปรด้วยวิธี LSD


            ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณภาพชีวิตการทำงานของกำลังพล กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 152 ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 3.50, S.D. = 0.759) 2) ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตการทำงานแตกต่างกัน เป็นการยอมรับสมมติฐานการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ 3) แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของกำลังพล กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 152 ปัจจัยสำคัญ คือ มุ่งเน้นการพัฒนาได้รับโอกาสในการฝึกอบรมและการพัฒนาเพื่อเพิ่มพูนทักษะและความรู้ ทั้งผลตอบแทนที่ยุติธรรมและเพียงพอเป็นสำคัญ ควรส่งเสริมให้กำลังพลสามารถมีอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้ครอบครัว และด้านการบูรณาการทางสังคม หรือการทำงานร่วมกัน ควรลดความขัดแย้งระหว่างกำลังพล ควรเสริมสร้างกิจกรรมหรือการละลายพฤติกรรม และควรทำให้ที่ทำงานมีบรรยากาศของความเป็นมิตร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองทัพบก. (2563). คำสั่งที่ 678/2563 เรื่อง การตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตกำลังพลและประสิทธิภาพของหน่วยทหาร ทบ. รวมทั้งกำหนดแนวทางการตรวจสอบและประเมินผล ประจำปี 2564. กองทัพบก.

กมลพร กัลยาณมิตร. (2559). แรงจูงใจ 2 ปัจจัย พลังสู่ความสำเร็จ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 6(3), 175-183.

ดุจเดือน พันธุมนาวิน. (2560). โมเดลปัจจัยเชิงเหตุผลของคุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการทหาร. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. 8(3), 69-82.

เดช อุณหะจิรังรักษ์. (2562). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนการวิชาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บงกช นิยมาภา. (2559). การศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของกำลังพล กรมยุทธการทหารกองบัญชาการกองทัพไทย. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. 7(3), 86-96.

แพรพรรณ เหลืองทองคำ. (2563). คุณภาพชีวิตในการทำงานของกำลังพล กอง 10 ศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการกองทัพไทย. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

เพ็ญศรี เวชประพันธ์. (2557). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสงขลา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มัลลิกา กวงแหวน. (2562). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการสำนักอำนวยการประจำศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ พ.ศ. 2562. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มุสตอฟา หมัดบินเฮด. (2565). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

รณรงค์ เส็งมี และธีระพงษ์ ภูริปาณิกา. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของกำลังพล สังกัดกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 111 ตำบลท่าบุญมี อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 13(3), 209-223.

รณัชฤดี ป้องกันภัย. (2557). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานการเคหะแห่งชาติ : กรณีศึกษาพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานใหญ่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

รัตนา แสวงบุญราศรี. (2561). คุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร สังกัดศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการกองทัพไทย. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยเกริก.

วิจักษณ์ ใหญ่เลิศ พระครูชัยรัตนากร และวิมลพร สุวรรณแสนทวี. (2565). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของทหารกองประจำการ กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 16 จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์. 6(2), 1-10.

วรรณภา พัวเวส. (2558). กระบวนการเกณฑ์และฝึกอบรมทหารกองประจำการกองทัพอากาศที่มีผลกระทบต่อสังคมไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศักพ์ปพล ลิ้มวิชริรานนท์ และปัทมา โกเมนท์จำรัส. (2566). คุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของกำลังพล กองร้อยบริการ กรมการทหารสื่อสาร. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ศิวดล ยาคล้าย. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของกำลังพลกรมทหารราบที่ 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). สาระสำคัญรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กลุ่มงานบรรณาธิการและเทคโนโลยีจัดการพิมพ์.

สราวุธ วรดิษฐวงษ์. (2562). คุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการตำรวจ สถานีตำรวจนครบาลคลองตัน. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาเกษมบัณฑิต.

อัชราวดี ชูถนอม. (2565). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการตำรวจ กองบังคับการอำนวยการ ตำรวจภูธรภาค 9.[สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

JobsDB. (2021). เพิ่มแรงจูงใจให้ทีมด้วย Maslow’s hierarchy of needs ปลุกไฟในใจให้ร้อนแรงอยู่เสมอ. https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%E2%80%8Bmaslows-hierarchy-of-needs/

Yamane, Taro. (1973). Statistics: an introductory analysis. Harper & Row.

Walton, R.E. (1975). Criteria for Quality of work life, The Quality of working life. Free Press. (pp. 93-95).