พฤติกรรมและความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของผู้ประกอบการธุรกิจพระเครื่อง ในตลาดพระเครื่อง อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

วรรธนะพล สิริชัญญาภักดิ์

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการของลูกค้าในตลาดพระเครื่อง 2) ศึกษาระดับความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของผู้ประกอบการธุรกิจพระเครื่องในตลาดพระเครื่อง 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการใช้บริการของลูกค้าในตลาดพระเครื่อง และ 4) ศึกษาเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของผู้ประกอบการธุรกิจพระเครื่องในตลาดพระเครื่อง อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของแบบสอบถามของงานวิจัยในครั้งนี้ได้เท่ากับ 0.983 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.950 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test, One - way ANOVA และวิธีการในการเปรียบเทียบรายคู่ เมื่อพบความแตกต่างระหว่างสองกลุ่ม


            ผลจากการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการใช้บริการส่วนใหญ่มีความถี่ในการใช้บริการเดือนละ 7 - 8 ครั้ง มีความต้องการใช้บริการเช่าบูชาพระเครื่องและวัตถุมงคล สาเหตุในการเลือกใช้บริการเพราะมีรูปแบบการบริการเกี่ยวกับพระเครื่องอย่างครบถ้วน บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการ คือ ตนเอง ช่วงเวลาที่ใช้บริการ 12.01 – 14.00 น. ค่าใช้จ่ายต่อครั้งมากกว่า 6,000 บาท และแหล่งข้อมูลได้มาจากสื่อโฆษณาทางอินเทอร์เน็ต ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของผู้ประกอบการธุรกิจพระเครื่องในตลาดพระเครื่อง อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ  รายได้ต่อเดือน  และประสบการณ์เกี่ยวกับพระเครื่อง มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการของลูกค้าในตลาดพระเครื่อง อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ สำหรับความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของผู้ประกอบการธุรกิจพระเครื่อง ในด้านเพศ อาชีพ รายได้ และประสบการณ์เกี่ยวกับพระเครื่องที่ต่างกัน มีระดับความพึงพอใจที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนลูกค้าที่มีอายุ และระดับการศึกษาที่ต่างกัน จะมีความพึงพอใจในการให้บริการที่ไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2555). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กอบกาญจน์ เหรียญทอง. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสยาม.

จันทา ไชยะโวหาน. (2562). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อถ้ำนางแอ่น เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สปป.ลาว. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

จิตตินันท์ นันทไพบูลย์. (2556). จิตวิทยาการบริการ. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

โชติวัฒน์ สกุลวิริยะโรจน์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคและการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้บริโภคที่เลือกชมภาพยนต์ไทยในโรงภาพยนต์ของผู้บริโภคที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ชัยภักดิ์ อรัญญภูมิ. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเช่าพระเครื่องในตลาดทิพย์เนตร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2552). การตลาดบริการ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ดารา ทีปะปาล. (2557). การสื่อสารการตลาด (Marketing Communications). อมรการพิมพ์.

นันทิยา นันทิยวงศ์. (2557). ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเช่าพระเครื่องออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. [ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปราโมทย์ ประสาทกุล. (2556). ประชากรศาสตร์ สารัตถศึกษาเรื่องประชากรมนุษย์. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ผดุงสิทธิ์ ศรสมฤทธิ์. (2557). การจัดการและตลาดบริการ. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ยุพาวรรณ วรรณะวาณิชย์. (2558). การจัดการตลาดบริการ. แสงดาว.

วันวิสาข์ อมรวัชรพันธ์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเช่าบูชาพระเครื่องในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์. (2560). หลักการตลาด. ท๊อป.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่ (ฉบับปรับปรุง). ธรรมสาร.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2565). แนวโน้มและบทวิเคราะห์ธุรกิจ. https://www.kasikornbank.com

สุรพร ถาวรพานิช. (2556). การทำพระเครื่องใหเปนสินคาธุรกิจพระเครื่อง. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อเนก สุวรรณบัณฑิต และภาสกร อดุลพัฒนกิจ. (2558). จิตวิทยาบริการ. เพรส แอนด์ ดีไซน์.