ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดกับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มกาแฟของนักศึกษา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Main Article Content

คชกัญ ตั้งใหม่ดี

บทคัดย่อ

            การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์ของร้านกาแฟ พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มกาแฟ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์ของร้านกาแฟกับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มกาแฟของนักศึกษา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษาปริญญาตรี คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 268 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามออนไลน์ (Online questionnaire) ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิอัลฟาของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.863 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


               ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 228 คน คิดเป็นร้อยละ 85.1 กำลังศึกษาชั้นปีที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 64.9 มีอายุ 22 ปี คิดเป็นร้อยละ 37.3 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระหว่าง 5,000 – 10,000 จำนวน 134 คน คิดเป็นร้อยละ 50.0 พักอาศัยที่บ้านตัวเอง จำนวน 136 คน คิดเป็นร้อยละ 50.7 พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มกาแฟ พบว่า ดื่มกาแฟ 4 ครั้งต่อสัปดาห์ ไม่เกิน 2 แก้วต่อวัน ดื่มกาแฟก่อนเวลา 09.00 น. จนถึงเวลา 12.00 น. ดื่มกาแฟสด (fresh coffee) ชนิด Café Latte แบบเย็นบ่อยที่สุด ซื้อร้านค้าตราสินค้าโดยตรง ซื้อครั้งละน้อยกว่า 200 บาท บุคคลที่มีส่วนในการเลือกซื้อกาแฟ คือ ตัวท่านเอง สื่อที่มีผลต่อการเลือกซื้อเครื่องดื่มกาแฟ คือ บุคคลใกล้ชิดแนะนำ เหตุผลที่ซื้อเครื่องดื่มกาแฟ เพราะว่า มีรสชาติและความหอมของกาแฟ ตราสินค้าเครื่องดื่มกาแฟที่ดื่มบ่อยที่สุด ได้แก่ CAFÉ Amazon ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์ของร้านกาแฟ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x}= 4.25) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์ของร้านกาแฟ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มกาแฟของนักศึกษา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต โดยภาพรวม และรายด้าน


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จีระศักดิ์ คำสุริย์. (2562). เครื่องดื่มกาแฟในประเทศไทย, รายงานตลาดอาหารในประเทศไทย, ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหารสถาบันอาหาร. https://fic.nfi.or.th/upload/market_overview/JUN2019Thailand_Coffee.pdf

แคทรียา ปันทะนะ และคณะ. (2557). พฤติกรรมผู้บริโภคร้านกาแฟสดในเขตอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. [การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญามหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ, เชียงใหม่.

ธีชาภรณ์ ต๊ะต้องใจ. (2555). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคกาแฟสดและเบเกอรี่ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นิศารัตน์ ฟองสมุทร และสุกัญญา หอมหวาน. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อกาแฟของคนวัยทำงาน ในเขตกรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นพรัตน์ รัตนปิลัมธน์. (2565). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและเครื่องมือการสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องทำกาแฟและแคปซูลกาแฟของแบรนด์ NESTLE ผ่านออนไลน์ของพนักงานในเขตกรุงเทพมหานคร. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นงนุช อุณอนันต์. (2557). พฤติกรรมผู้บริโภคในการใช้บริการร้านกาแฟสดในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 8(2), 69 - 80.

ปฐมาวดี บริสุทธิ์ และวรรณวิชณีย์ ทองอินทราช. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับการตัดสินใจซื้อกาแฟสำเร็จรูปชนิดซอง ในจังหวัดชุมพร. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ประวิน แสงศรัณย์. (2550). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อกาแฟสดจากร้านกาแฟสดในเขตบางกอกน้อย จังหวัดกรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

พิชามญช์ เดชรังสฤษดิ์. (2554). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคกาแฟจากร้านสตาร์บัคส์ของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

โพสต์ทูเดย์. (2566). เปิดเทรนด์คนรุ่นใหม่ชอบดื่มกาแฟร้อนตอนเช้า. https://www.posttoday.com/ lifestyle/689542

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2566). ระบบฐานข้อมูลหลัก: จำนวนนักศึกษามีสภาพ จำแนกตาม คณะ สถานที่ศึกษา และเพศ ระดับปริญญาตรี ประจำภาคการศึกษา 1/2566. https://www.reg.tu.ac.th/th/Picture/AttFile/93a5f8a2-01b0-40ca-b951-0c0a614f20d6

เมธี มณีงาม. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคกาแฟของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รัตนากร สิทธิทรัพย์โภคิน. (2555). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านกาแฟวาวี ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศศิธร พรมมาลา. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อกาแฟสดของผู้บริโภคในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

อธิศกิตต์ สินธุรหัส. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ของร้านกาแฟสดในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาที่มีผลต่อความจงรักภักดีของผู้บริโภค. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Best, J. W. (1977). Research in education. (3rd ed). Prentice hall Inc.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: an introductory analysis. Harper. & Row.