สิทธิประโยชน์และสวัสดิการของพนักงานโรงงาน จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

วัลภา คงพัวะ
วิยะดา วรานนท์วนิช

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของพนักงานโรงงาน จังหวัดปทุมธานี 2)เปรียบเทียบสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของพนักงานโรงงาน จังหวัดปทุมธานีจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล 3) เปรียบเทียบสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของพนักงานโรงงาน จังหวัดปทุมธานีจำแนกตามคุณลักษณะองค์การ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานบริษัท/โรงงานในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 385 คน คำนวณโดยสูตรของวิธีการคำนวณแบบไม่ทราบกลุ่มประชากรของ W.G. Cochran ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.63 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test, F-test


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นต่อสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของพนักงานโรงงาน จังหวัดปทุมธานีโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅= 3.45, S.D.= 0.27) และเมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้าน พบว่า มากที่สุด คือ ด้านที่อยู่อาศัย รองลงมาคือ ด้านการศึกษาและพัฒนา และระดับที่น้อยที่สุด คือ ด้านกิจกรรม 2) การเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของพนักงานโรงงาน จังหวัดปทุมธานีจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล พบว่า พนักงานโรงงานที่มีสถานภาพสมรสต่างกันมีความคิดเห็นต่อสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของพนักงานโรงงาน จังหวัดปทุมธานีในด้านที่อยู่อาศัย และด้านกิจกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, พนักงานโรงงานที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของพนักงานโรงงาน จังหวัดปทุมธานีแตกต่างกันในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเพื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า พนักงานโรงงานที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของพนักงานโรงงาน จังหวัดปทุมธานีในด้านสุขภาพ  ด้านที่อยู่อาศัยและด้านการศึกษาและพัฒนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01, พนักงานโรงงานที่มีรายได้ต่างกันมีความคิดเห็นต่อสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของพนักงานโรงงาน จังหวัดปทุมธานีในด้านที่อยู่อาศัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และในด้านเงินรางวัลพิเศษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ3) การเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของพนักงานโรงงาน จังหวัดปทุมธานีจำแนกตามคุณลักษณะองค์การ พบว่า พนักงานโรงงานที่มีปัจจัยคุณลักษณะองค์การ คือ ขนาดองค์กรต่างกันมีความคิดเห็นต่อสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของพนักงานโรงงาน จังหวัดปทุมธานีแตกต่างกันในด้านเงินรางวัลพิเศษ และด้านกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2552). โครงการศึกษาวิจัยรูปแบบการจัดสวัสดิการแรงงานที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย (รายงานฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน.

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2566). รายงานสถานการณ์แรงงานประจำปี 2566. กระทรวงแรงงาน.

กองยุทธศาสตร์แรงงาน กระทรวงแรงงาน. (2565). การจัดสวัสดิการแรงงานในสถานประกอบการ. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2567 จาก http://www.mol.go.th

จิตรา ดวงดี. (2563). แรงงานกับความไม่เป็นธรรมในอุตสาหกรรมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แรงงานและสังคม.

ดรุณี ปุ่มศิลป์. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานในนิคมอุตสาหกรรมบางกระดี่ เขตจังหวัดปทุมธานี. วารสารนวัตกรรมการอาชีวศึกษา, 7 (1), 99.-106.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ.

ปฏิภาณ เชิด สูงเนิน.(2567).การศึกษาภาวะผู้นำที่มีผลต่อความพึงพอใจของพนักงาน:กรณีศึกษาพนักงานโรงงานผลิตของเล่นแห่งหนึ่งในเขตอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดปทุมธานี.[ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต], มหาวิทยาลัยมหิดล.

ภากร แสงเนียม. (2564). อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์กร สภาพแวดล้อมในการทำงาน และความเครียดต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร. (2564). แรงงานไทยในยุคความเปลี่ยนแปลง:สิทธิสวัสดิการและความเป็นอยู่. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาแรงงาน.

สมาคมส่งเสริมสิทธิแรงงานไทย. (2565). การมีส่วนร่วมของแรงงานในนโยบายสวัสดิการ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเพื่อสิทธิแรงงาน.

สุวภัทร ศรีสว่างและณัฐพร ฉายประเสริฐ. (2562). สวัสดิการและค่าตอบแทนการปฎิบัติงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 14(3). 294-303.

สำนักงานประกันสังคม. (2566). ข้อมูลสวัสดิการพื้นฐานและสิทธิแรงงานประกันสังคม. กรุงเทพฯ: กระทรวงแรงงาน.

อังคณา ธนานุภาพพันธุ์และชุดาพร สอนภักดี. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความอยู่ดีมีสุขของพนักงานในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการจัดการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, 6(2), 185-200.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons, Inc.