About the Journal
Focus and Scope
วารสาร DEC Journal คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นวารสารทางวิชาการทางด้านศิลปะ การออกแบบและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง กำหนดเผยแพร่ปีละ 3 ครั้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1.เพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการ ในสาขาศิลปะ การออกแบบและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
2.เพื่อส่งเสริมให้เกิดการวิจัย การพัฒนาองค์ความรู้ การเขียนบทความวิชาการ/งานสร้างสรรค์ของอาจารย์ประจำคณะมัณฑนศิลป์ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งภายในและภายนอก คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
วารสาร DEC Journal เผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ งานวิจัย บทความวิชาการ ที่มุ่งเสนอองค์ความรู้ แนวคิด กระบวนการที่มีความเกี่ยวข้องในแขนงวิชาต่างๆทางศิลปะและการออกแบบ เช่น ออกแบบนิเทศศิลป์ ออกแบบภายใน ออกแบบผลิตภัณฑ์ เครื่องเคลือบดินเผา ออกแบบเครื่องแต่งกาย ประยุกต์ศิลปศึกษา และออกแบบเครื่องประดับ ตลอดจนงานวิชาการที่บูรณาการข้ามศาสตร์กับศิลปะ ออกแบบและศิลปวัฒนธรรม
วารสารเปิดรับบทความวิจัย บทความวิชาการ งานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม งานออกแบบ สาขาวิชาต่างๆที่เกี่ยวข้อง ของผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ครู อาจารย์ นิสิตนักศึกษา รวมทั้งบทความจากผู้มีประสบการณ์ แนวคิดต่องานศิลปะ การออกแบบ โดยบทความต้องนำเสนอองค์ความรู้หรือแนวคิดใหม่อันได้มาจากการปฏิบัติ ค้นคว้า วิจัย ไม่เคยถูกนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นทรรศนะและข้อคิดเห็นของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่รับผิดชอบบทความนั้น วารสาร DEC Journal คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ดำเนินการด้วยความมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานตามเกณฑ์การรับรองของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)
(วารสาร DEC Journal ไม่มีค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ)
Peer Review Process
1. การตอบรับหรือปฏิเสธบทความ
กองบรรณาธิการพิจาณาบทความเมื่อได้รับบทความจากผู้เขียน แล้วแจ้งผลการพิจาณาตอบรับหรือปฏิเสธบทความให้ผู้ส่งบทความทราบภายใน 15 วัน หากบทความมีรูปแบบหรือองค์ประกอบไม่ตรงตามหลักเกณฑ์การจัดทำต้นฉบับบทความที่วารสารกำหนด ฝ่ายประสานงานจะติดต่อกับผู้ส่งบทความเพื่อให้ปรับปรุงแก้ไขภายใน 15 วัน
2. การประเมินบทความ
ฝ่ายประสานงานนำต้นฉบับบทความที่ผ่านการพิจารณาจากกองบรรณาธิการแล้ว นำเสนอให้ผู้ประเมินพิจารณาบทความ (peer-reviewer) จำนวน 3 ท่าน โดยกองบรรณาธิการเป็นผู้เลือกจากผู้เชี่ยวชาญหรือเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่สอดคล้องกับบทความ ให้เป็นผู้พิจารณาเผยแพร่บทความตามเกณฑ์ประเมินบทความที่วารสารกำหนด โดยเก็บข้อมูลทั้งหมดเป็นความลับและไม่เปิดเผย ชื่อ-นามสกุล รวมถึงหน่วยงานที่สังกัดทั้งของผู้เขียนและผู้ประเมินบทความ (double-blinded) จนกว่าต้นฉบับบทความจะได้รับการเผยแพร่ ใช้เวลาพิจารณาแต่ละบทความประมาณ 1 เดือน
3. ผลการประเมินบทความ
บทความที่ผ่านการประเมิน คือ บทความที่ได้รับผลการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒในระดับ ดี ดีมาก ดีเด่น
ทั้งนี้ ผลการพิจารณาของผู้ประเมินบทความถือเป็นสิ้นสุด โดยไม่มีการทบทวนบทความที่ไม่ผ่านการประเมินหรือทบทวนระดับผลการประเมินอีกครั้ง หรือเปลี่ยนแปลงผู้ประเมินบทความใหม่ในทุกกรณี
4. การแจ้งผลการประเมินบทความ
กองบรรณาธิการวารสารจะส่งผลการประเมินให้ผู้ส่งบทความได้ทราบภายใน 7 วัน นับตั้งแต่ได้รับผลการประเมินจากผู้ประเมินท่านสุดท้าย หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อแก้ไขปรับปรุงจากผู้ประเมิน ให้ผู้ส่งบทความปรับแก้ไขภายใน 15 วันแล้วส่งกลับมายังกองบรรณาธิการ นับตั้งแต่วันที่ได้รับทราบผลการพิจาณาจากกองบรรณาธิการ หากผู้ส่งบทความไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะหรือข้อแก้ไขปรับปรุงของผู้ประเมิน ให้ทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรชี้แจงรายละเอียดให้กองบรรณาธิการพิจารณา
5. การตอบรับการเผยแพร่บทความ
บทความที่ผ่านการแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ประเมิน จะได้รับการพิจารณาอีกครั้งจากกองบรรณาธิการ แต่เป็นในรายละเอียดของรูปแบบบทความ การใช้ภาษา และการพิสูจน์อักษร โดยพิจารณาจากความง่ายต่อการอ่านบทความ จากนั้นกองบรรณาธิการจะแจ้งข้อเสนอให้ผู้ส่งบทความแก้ไขปรับปรุง เมื่อแก้ไขปรับปรุงเสร็จสมบูรณ์แล้ว ให้ถือวันที่บรรณาธิการให้ความเห็นชอบแก้ไขบทความครั้งสุดท้ายเป็นวันแก้ไขบทความ และให้ถือวันที่บรรณาธิการมีหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรแจ้งการเผยแพร่บทความ เป็นวันตอบรับการตีพิมพ์บทความ
6. การเผยแพร่บทความ
บทความที่ได้รับหนังสือตอบรับการเผยแพร่จากบรรณาธิการวารสารแล้ว จะได้รับการเผยแพร่ผ่านระบบวารสารDEC Journal ออนไลน์ (ThaiJO) ภายใน 30 วัน นับแต่วันออกหนังสือตอบรับการเผยแพร่ โดยที่การเผยแพร่ได้เรียงลำดับก่อนหลังตามวันที่บรรณาธิการวารสารมีหนังสือแจ้งการตีพิมพ์ให้ผู้ส่งบทความทราบ ตามลำดับอย่างเคร่งครัดโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือทบทวนไม่ว่ากรณีใด