สำนึกร่วมจากมิติท้องถิ่นสังคมไทยในบริบทร่วมสมัยของงานทัศนศิลป์และการวิจารณ์ของไทย ช่วงพุทธทศวรรษ 2530-2540

ผู้แต่ง

  • สุริยะ ฉายะเจริญ สาขาการจัดการศิลปกรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

DOI:

https://doi.org/10.69598/decorativeartsjournal.1.11-45

คำสำคัญ:

สำนึกร่วม, ท้องถิ่นสังคมไทย, บริบทร่วมสมัย, งานทัศนศิลป์, การวิจารณ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์วิเคราะห์สำนึกร่วมจากพัฒนาการที่โดดเด่นและการหยิบยืมเนื้อหาจากท้องถิ่นสังคมไทยกับกระแสศิลปะร่วมสมัยนานาชาติในงานทัศนศิลป์และการวิจารณ์ของไทยช่วงทศวรรษ 2530-2540 พบว่า สำนึกร่วมจากมิติท้องถิ่นสังคมไทยในกระแสโลกาภิวัตน์คือสำนึกร่วมที่แสดงให้เห็นถึงการตีความใหม่ด้วยการโหยหากลับไปสู่วัฒนธรรมท้องถิ่นที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตสามัญในสังคมไทยหรือเชื่อมโยงกับปรัชญาพุทธศาสนาเพื่อสร้างสื่อศิลปะสำหรับแสดงสุนทรียภาพด้วยความหมายใหม่ผ่านรูปแบบงานประติมากรรม สื่อผสม ศิลปะจัดวาง และศิลปะที่ผู้ชมมีส่วนร่วม ขณะที่ศิลปินสร้างงานทัศนศิลป์สะท้อนและวิพากษ์วิจารณ์สังคมไทยให้เสมือนกระจกส่องสะท้อนความเป็นไปของสังคมในบริบทต่าง ๆ เพื่อชี้นำสังคมไทยให้มหาชนได้ขบคิดถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตามทัศนะเชิงปัจเจก นอกจากนี้ ศิลปินไทยสร้างสรรค์และนำเสนอผลงานที่สอดคล้องกับกระแสศิลปะนานาชาติมากยิ่งขึ้นจากความสะดวกด้านการคมนาคมและการสื่อสารที่รวดเร็วขึ้น ศิลปินไทยรับรู้และเรียนรู้ความเป็นนานาชาติผ่านการศึกษา การศึกษาต่อต่างประเทศ การทัศนศึกษาต่างประเทศ และการแสดงงานศิลปะในระดับนานาชาติ สิ่งเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นให้ศิลปินไทยมีสำนึกร่วมในการผลักดันงานทัศนศิลป์ให้ก้าวทันกับกระแสศิลปะร่วมสมัยได้มากขึ้นกว่าอดีต ส่วนการวิจารณ์ทัศนศิลป์นั้น พบว่า นักวิจารณ์จำนวนไม่น้อยมีสถานะในวงการศิลปะมากกว่าหนึ่งบทบาท ซึ่งอาจจะเป็นนักวิจารณ์ควบคู่ไปกับการเป็นศิลปิน นักวิชาการ หรืออาจารย์ด้วย โดยประเด็นใหญ่ที่ได้รับความสำคัญคือนิยามศิลปะสมัยใหม่และศิลปะร่วมสมัยในสังคมไทยที่พบมากในรูปของหนังสือ ตำรา บทความ และบทวิจารณ์

References

เจตนา นาควัชระ. (2546). ศิลป์ส่องทาง. คมบาง.

โครงการวิจัยเรื่อง การวิจารณ์ศิลปะ: รอยต่อระหว่างวัฒนธรรมลายลักษณ์กับวัฒนธรรมเสมือนจริง. (2561, 21 ธันวาคม). บรรณานุกรมบทวิจารณ์ สาขาทัศนศิลป์. TRF Criticism Project. http://www.thaicritic.com/?page_id=62

จักรพันธ์ วิลาสินีกุล, ดวงฤทัย เอสะนาชาตัง, และ วันทนีย์ ศิริพัฒนานันทกูร. (2547). พลังการวิจารณ์ : ทัศนศิลป์. มิ่งมิตร.

ถนอม ชาภักดี. (2545). ศิลปะปริทัศน์ เชิงอรรถการวิจารณ์. เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน).

ถนอม ชาภักดี. (2557). การสร้างสรรค์สื่อเรื่อง กระบวนการวิจารณ์ทัศนศิลป์ในประเทศไทยช่วงปี พ.ศ.2530-2550: ภายใต้บริบทของโลกกาภิวัฒน์และโลกศิลปะ. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาศิลปกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนะ เลาหกัยกุล. (2546). เส้น สี รูปทรง สังคมของการจัดวาง 40 ปี. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

มณเฑียร บุญมา และ อารยา ราษฎร์จำเริญสุข. (2548). คนตายอยากอยู่ คนอยู่อยากตาย. สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม.

มณเฑียร บุญมา. (2532). ผลงานสื่อประสมของมณเฑียร บุญมา "เรื่องราวจากท้องทุ่ง". กรมศิลปากร.

มณเฑียร บุญมา. (2548). ตายก่อนดับ : การกลับมาของมณเฑียร บุญมา. สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม.

มานิต ศรีวานิชภูมิ, สุธี คุณาวิชยานนท์ และ อิ๋ง กาญจนะวณิชย์. (2544). นิทรรศการประวัติศาสตร์และความทรงจำ จัดแสดง ณ หอศิลปวิทยนิทรรศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 15 สิงหาคม - 1 กันยายน 2544. หอศิลป์วิทยนิทรรศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มานิต ศรีวานิชภูมิ, สุธี คุณาวิชยานนท์, อิ๋ง กาญจนะวณิชย์, วสันต์ สิทธิเขตต์, ชาติชาย ปุยเปีย, นพไชย อังควัฒนะพงษ์, สาครินทร์ เครืออ่อน และ สันติ ทองสุข. (2548). นีโอ-ชาตินิยม : นิทรรศการศิลปการเมืองร่วมสมัย. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรเทพ อรรคบุตร. (2548). เข้านอก/ออกใน. สเกล.

วสันต์ สิทธิเขตต์. (2561). นิทรรศการศิลปะร่วมสมัย "ฉันคือเธอ" จัดโดยหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร. ใน ลักขณา คุณาวิชยานนท์ (บ.ก.), นิทรรศการศิลปะร่วมสมัย "ฉันคือเธอ". แปลน พริ้นท์ติ้ง จำกัด.

วิโชค มุกดามณี และ สุธี คุณาวิชยานนท์. (2540). ศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 9. คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2548). ศิลปะในประเทศไทยจากศิลปะโบราณในสยามถึงศิลปะสมัยใหม่. ศูนย์หนังสือลาดพร้าว.

วิรุณ ตั้งเจริญ. (2534). ศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทย. โอเดียนสโตร์.

สดชื่น ชัยประสาธน์. (2539). จิตรกรรมและวรรณกรรมแนวเซอร์เรียลิสต์ในประเทศไทย พ.ศ.2507-2527. สยามสมาคม.

สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม. (2557). เอกะทศวรรษ ศิลปาธร. ใน เขมชาติ เทพไชย (บ.ก.), เอกะทศวรรษ ศิลปาธร. สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม.

สุชาติ เถาทอง. (2537). ศิลปวิจารณ์. โอเดียนสโตร์.

หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2544). 5 ทศวรรษศิลปกรรมแห่งชาติ 2492-2541. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อภินันท์ โปษยานนท์, และ คณะ. (2555). ศิลปะสมัยรัชกาลที่ 9: นิทรรศการศิลปะไทยเท่ จากท้องถิ่นสู่อินเตอร์. อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

Asia Society. (2004). Nature’s Breath: Arokhayasala. http://sites.asiasociety.org/arts/boonma/nature/b0.html

Navin Production Co. Ltd. (n.d). A Blossom in the Middle of the Heart (City), 1997: Navin Gallery Bangkok.. http://navinproduction.com/achives_detail.php?id=174

Poshyananda, A. (1992). Modern art in Thailand: nineteenth and twentieth centuries. Oxford University Press.

Public Delivery. (2007). THAI ARTIST FAILED MISERABLY, OR DID HE NOT? – SAKARIN KRUE-ON. https://publicdelivery.org/sakarin-krue-on-terraced-rice-fields/

Sculpture Center. (2014, April 15). Subjective Histories of Sculpture: Araya Rasdjarmrearnsook. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=o5VX6OAda3M&fbclid=IwAR3x3a1Uk80zz7Vgxj3wt6rMG5-UdKO5Masf5SIpoX8ZBIewUWgTdli67rc

Tiravanija, Rirkrit. (2017, December 19). Rirkrit Tiravanija and the Politics of Cooking (INTERVIEW BY WILLIAM HANLEY). Surfacemag. https://www.surfacemag.com/articles/rirkrit-tiravanija-talks-politics-cooking-ceramics/

Van Fenema, Joyce. (Ed.). (1996). Southeast Asian Art Today. Roeder.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-12-2022

How to Cite

ฉายะเจริญ ส. (2022). สำนึกร่วมจากมิติท้องถิ่นสังคมไทยในบริบทร่วมสมัยของงานทัศนศิลป์และการวิจารณ์ของไทย ช่วงพุทธทศวรรษ 2530-2540 . DEC Journal, 1(3), 11–45. https://doi.org/10.69598/decorativeartsjournal.1.11-45