เจดีย์เก่าวัดอนัมนิกายาราม : รูปแบบและความหมายของสถาปัตยกรรมหลายสถานะ
DOI:
https://doi.org/10.69598/decorativeartsjournal.3.78%20-%2095คำสำคัญ:
เจดีย์เก่า, วัดอนัมนิกายาราม, สถาปัตยกรรมหลายสถานะบทคัดย่อ
พื้นที่ย่าน บางโพ กรุงเทพฯ ปรากฏร่องรอยความหลายหลายทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และส่งผลต่อภูมิทัศน์ สิ่งแวดล้อม และชุมชนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นที่ทราบกันดีจากการเห็นถึงหลักฐานการมีวัดอนัมนิกายารามและการตั้งถิ่นฐานของชาวญวนในย่านนี้ ร่องรอยโบราณสถานและสภาพของหลักฐานที่เกี่ยวข้องในเรื่องของการใช้พื้นที่ของชุมชนดั้งเดิมทั้งพื้นที่ของวัดเอง สุสาน เจดีย์ ถูกรุกล้ำเข้ามาจากชุมชนแวดล้อม อันเป็นผลจากความเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ทางเชื้อชาติ การกลืนกลายไปของชุมชนดั้งเดิม ซึ่งเป็นพลวัตอย่างหนึ่งของวัฒนธรรมที่มีการผสานและผสมกลมกลืนกันได้ คงอยู่แต่เพียงส่วนที่เป็นเขตอารามที่ได้รับการส่งเสริมสงวนไว้เป็นอัตลักษณ์ของพุทธศาสนานิกายญวนเท่านั้น โบราณสถานภายนอกที่เกี่ยวข้องกับชุนชนเดิมและสัมพันธ์กับความเชื่อของวัด ถูกละเลยทิ้งร้างและขาดการดูแลรักษามีสภาพผุพังทรุดโทรมมาก เป็นผลให้นอกจากสภาพภายนอกของโบราณสถานสำคัญเสียหายและขาดการอนุรักษ์ให้เห็นความสำคัญแล้ว การแสดงถึงประวัติความเป็นมา ความหมาย หน้าที่การใช้สอยและความสำคัญที่เคยมีอยู่ เป็นสิ่งที่เลือนหายไปจากความทรงจำและการรับรู้ของชุมชน การศึกษาเพื่อกำหนดความหมาย หน้าที่ และรูปแบบที่แน่ชัดของโบราณสถานที่สำคัญ คือ เจดีย์เก่าบางโพนั้น จึงทำได้ยากยิ่ง จากสภาพของความผุพังทรุดโทรมในปัจจุบันกลับสร้างความฉงนแก่ผู้พบเห็นหลายอย่างสู่การตั้งคำถามถึงสถานะและความสำคัญที่เปลี่ยนไปจากเดิม สาเหตุแห่งการละทิ้ง การรุกล้ำ การกำหนดชื่อเรียกและหน้าที่การใช้สอยโดยตรง อีกประการหนึ่งคือ การเกิดรูปแบบของศิลปกรรมที่มาจากการผสมผสานกันอย่างหลากหลาย ชวนให้คิดถึงการเปรียบเทียบกับสถาปัตยกรรมร่วมสมัยที่มีความนิยม
ในระยะเวลาหนึ่ง หรือผสมผสานการต่อเนื่อง แก้ไข เพิ่มเติม ปรับรุง จนเกิดเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ไม่สามารถนิยามได้
เป็นอย่างหนึ่งอย่างใดโดยเฉพาะ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสถาปัตยกรรมไทยเช่นนี้จึงนำมาสู่การตรวจสอบความแน่ชัดทางด้านรูปแบบในสถานะที่มองการเกิดสถาปัตยกรรมในลักษณะของการสร้างสรรค์นอกแบบแผนศิลปะประเพณี
References
กรมศิลปากร. (2561). องค์ความรู้เรื่องรูปแบบ ลวดลายประดับ และวัสดุก่อสร้าง ของปรางค์สมัยอยุธยา. เทียนวัฒนา.
เฉลิม รัตนทัศนี. (2539) วิวัฒนาการสถาปัตยกรรมไทยพุทธสาสนา. อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิซซิ่ง.
โชติ กัลยาณมิตร. (2539) สถาปัตยกรรมไทยเดิม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นารถ โพธิประสาท. (2513) สถาปัตยกรรมในประเทศไทย. ไทยวัฒนาพานิช.
ผุสดี ทิพทัส. (2530). หลักเบื้องต้นในการจัดองค์ประกอบในสถาปัตยกรรม. ไทนวัฒนาพานิช.
วิโรจน์ ชีวาสุขถาวร. (2562). ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมไทย:พัฒนา แนวความคิด และการคลึ่คลายรูปแบบ. อภิชาติการพิมพ์.
ศิลป พีระศรี. (2512). ประวัติศาสตร์และแบบอย่างศิลป์ แปลและเรียบเรียงโดย เขียน ยิ้มศิริ. สยามการพิมพ์.
สมคิด จิระทัศนกุล.(2546). คติ สัญลักษณ์ และความหมาย ของซุ้มประตู-หน้าต่างไทย. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พัชลิชชิ่ง.
สันติ เล็กสุขุม. (2535). เจดีย์. มติชน.
อนุวิทย์ เจริญศุภกุล. (2512). สถาปนิก สถาปัตยกรรมและแบบแผนนิยม. กรุงสยามการพิมพ์

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 DEC Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
จัดทำโดย ฝ่ายวิชาการ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ลิขสิทธิ์ของบทความเป็นของเจ้าของบทความ บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นทรรศนะของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่รับผิดชอบต่อบทความนั้น