พหุวัฒนธรรม ความเชื่อ ความศรัทธา และพฤติกรรมของสังคมผู้สูงอายุในชุมชน สู่การออกแบบอัตลักษณ์พื้นที่นันทนาการสร้างสรรค์ เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม : กรณีศึกษา ชุมชนวุฒากาศ เขตจอมทอง กรุงเทพฯ
DOI:
https://doi.org/10.69598/decorativeartsjournal.3.31%20-%2053คำสำคัญ:
พหุวัฒนธรรม, อัตลักษณ์, สังคมผู้สูงอายุ, พื้นที่นันทนาการสร้างสรรค์, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบทคัดย่อ
ชุมชนวุฒากาศอยู่บริเวณวัดโบราณ ที่มีสถาปัตยกรรมแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 และชุมชนมีมรดกภูมิปัญญาที่หลากหลายในชุมชน การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการในรูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน จากกลุ่มผู้สูงอายุคนดั้งเดิมในพื้นที่ ศิลปินหรือผู้ทำงานสร้างสรรค์ในพื้นที่ ตัวแทนผู้รับผิดชอบหน่วยงาน นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญในด้านที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ ร่วมกับการบูรณาการศิลปะการออกแบบ และแนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ ในรูปแบบที่เหมาะสมสู่การออกแบบอัตลักษณ์พื้นที่นันทนาการสร้างสรรค์ เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทพื้นที่ชุมชนวุฒากาศ มีจุดแข็ง คือ สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญและมีชื่อเสียง ซึ่งเป็นทรัพยากรทางวัฒนธรรมไทย-จีน ที่ได้รับอิทธิพลมาตั้งแต่ช่วงรัชกาลที่ 3 และเป็นมรดกภูมิปัญญาที่มีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น เช่น คณะปี่พาทย์ครูทองคำ การละเล่นกระตั้วแทงเสือ เป็นต้น 2) พฤติกรรมของผู้สูงอายุในพื้นที่ชุมชนวุฒากาศมีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายใช้ชีวิตอย่างพอเพียง มีความสุขกับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย และชอบทำกิจกรรมนันทนาการ เพื่อความสนุกและการผ่อนคลายร่วมกันเป็นกลุ่ม 3) ศักยภาพของต้นทุนวัฒนธรรมในพื้นที่สู่การออกแบบอัตลักษณ์ ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้สูงอายุของคนในชุมชน และส่งเสริมการสร้างสุนทรียศาสตร์ โดยอยู่บนพื้นฐานของการอนุรักษ์และเน้นคุณค่าของสิ่งที่มีอยู่เดิม ที่เป็นเสน่ห์ของพื้นที่ที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้อย่างยั่งยืน
จากผลการศึกษา ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการนำผลวิจัยไปใช้ และข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป พบว่า ผู้นำและคนในพื้นที่มีบทบาทสำคัญในการมีส่วนร่วม และการสร้างความเข้าใจในวัตถุประสงค์การออกแบบพื้นที่นันทนาการสร้างสรรค์ เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่สามารถส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนให้มีคุณภาพที่ดี และช่วยสร้างพื้นที่ชุมชนให้มีความปลอดภัย พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างยั่งยืน
ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทพื้นที่ชุมชนวุฒากาศ มีจุดแข็ง คือ สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญและมีชื่อเสียง ซึ่งเป็นทรัพยากรทางวัฒนธรรมไทย-จีน ที่ได้รับอิทธิพลมาตั้งแต่ช่วงรัชกาลที่ 3 และเป็นมรดกภูมิปัญญาที่มีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น เช่น คณะปี่พาทย์ครูทองคำ การละเล่นกระตั้วแทงเสือ เป็นต้น 2) พฤติกรรมของผู้สูงอายุในพื้นที่ชุมชนวุฒากาศมีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายใช้ชีวิตอย่างพอเพียง มีความสุขกับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย และชอบทำกิจกรรมนันทนาการ เพื่อความสนุกและการผ่อนคลายร่วมกันเป็นกลุ่ม 3) ศักยภาพของต้นทุนวัฒนธรรมในพื้นที่สู่การออกแบบอัตลักษณ์ ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้สูงอายุของคนในชุมชน และส่งเสริมการสร้างสุนทรียศาสตร์ โดยอยู่บนพื้นฐานของการอนุรักษ์และเน้นคุณค่าของสิ่งที่มีอยู่เดิม ที่เป็นเสน่ห์ของพื้นที่ที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้อย่างยั่งยืน
จากผลการศึกษา ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการนำผลวิจัยไปใช้ และข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป พบว่า ผู้นำและคนในพื้นที่มีบทบาทสำคัญในการมีส่วนร่วม และการสร้างความเข้าใจในวัตถุประสงค์การออกแบบพื้นที่นันทนาการสร้างสรรค์ เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่สามารถส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนให้มีคุณภาพที่ดี และช่วยสร้างพื้นที่ชุมชนให้มีความปลอดภัย พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างยั่งยืน
คำสำคัญ : พหุวัฒนธรรม, อัตลักษณ์, สังคมผู้สูงอายุ, พื้นที่นันทนาการสร้างสรรค์, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
References
จรัสวรรณ เทียนประภาส และพัชรี ตันศิริ. (2536). การพยาบาลผู้สูงอายุ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ชณัฎฐ์ พงศ์ธราธิก, สุมนรตรี นิ่มเนติพันธ์และอนันต์ มาลารัตน์. (2564). การพัฒนากลยุทธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 6(3), 77-91.
พิศิษฎ์ คุณวโรฒม์. (2509). อัตลักษณ์และกระบวนการต่อสู้เพื่อชีวิตของผู้ติดเชื้อ HIV. คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
มนสิชา อินทจักร. (2552). การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในประเทศไทยสำหรับนักท่องเที่ยวสูงอายุชาวญี่ปุ่น. วารสารวิชาการ
อิเล็กทรอนิกส์การท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. ปี 2552 ฉบับที่ 1 หน้า 1-10.
วนิดา ตรีสวัสดิ์. (2555). วัดมอญจังหวัดราชบรุ ี: การจัดการภูมิทัศน์และความหมายของอัตลักษณ์ชุมชน. วารสารร่มพฤกษ์ ปีที่
ฉบับที่2: 20-21.
พระธรรมปิฎก, (ป.อ.ปยุตฺ โตฺ ). (2553). พจนานกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่9). มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ราชบัณฑิตยสถาน. (2532). พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา อังกฤษ – ไทย (ฉบับราชบัณฑิตสถาน). อัมรินทร์พริ้นติ้ง
เสริมศักดิ์ ขุนพล. (2557). การออกแบบและพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของ ชุมชนเกาะยอ. รายงานวิจัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
Eriksen, T. H. (2001). Between universalism and relativism: a critique of the UNESCO concept of
culture. Culture and rights: Anthropological perspectives, 127-148.
Smith, V.L. (1997) ‘The four Hs of tribal tourism: Acoma – A Pueblo case study’, in Cooper, C. and Wanhill, S. (eds) Tourism Development: Environmental and Community Issues, London: John Wiley and Sons, pp. 141–151.
Woodward, K. (Ed.). (1997). Identity and difference (Vol. 3). Sage.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
Copyright (c) 2024 DEC Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
จัดทำโดย ฝ่ายวิชาการ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ลิขสิทธิ์ของบทความเป็นของเจ้าของบทความ บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นทรรศนะของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่รับผิดชอบต่อบทความนั้น