การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดู่ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด People’s Participation In The Local Development Of Ban Du Provincial Administrative Organization, At Samat District Roi-Et Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดู่ 2. เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดู่ 3. เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดู่ การวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตามระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 368 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การโดยทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า 1. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดู่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชน.ในการพัฒนาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดู่ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และระยะเวลาที่อาศัยในพื้นที่ต่างกัน มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มี เพศต่างกันมีส่วนร่วมในการการพัฒนาท้องถิ่นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย 3. แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดู่ 1.ส่งเสริมประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอโครงการต่างๆที่ช่วยส่งเสริมการมีรายได้ในชุมชน 2.ส่งเสริมในการจัดกิจกรรมทำความสะอาดแก่ชุมชนอย่างสม่ำเสมอ 3.การส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กิจจา โพแดน.(2557). การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลลาดยาว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์.บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.หน้า ก.
ธันยวัฒน์ รัตนสัค.(2555). การบริหารราชการไทย.เชียงใหม่: สำนักวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.หน้า 193-196.
นายธีรวัฒน์ โรจนมงคล.(2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.หน้า ข.
พระเฉลิมวุฒิ จิตฺตสํวโร (น้อยโจม).(2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงพะไล อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.หน้า ข.
พระมหาอากาย ฐิตธมฺโม (ผดุงชาติ).(2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง ของ องค์การบริหารส่วนตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.หน้า ก.
พระสุริโย สุขิโต (รุ่งเรื่อง).(2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลสนับทึบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.หน้า ข.
รัฐ กันภัย.(2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในแผนพัฒนาท้องถิ่นด้านการท่องเที่ยวของเทศบาลเมืองชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. วารสาร ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. (มกราคม -เมษายน 2558).
เรณุมาศ รักษาแก้ว.(2564). การมีส่วนร่วมของประชาชน, สถาบันพระปกเกล้า, [ออนไลน์], แหล่งที่มา : wiki.kpi.ac.th/index.php?title=การมีส่วนร่วมของประชาชน, (19 กันยายน 2564).
ส่วนงานนโยบายและแผน.(2563).แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2561-2565),องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดู่ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด, หน้า 33-37.
Yamane, Taro. (1973: 580-581). Statistics: An Introductory Analysis. 2d ed. ToKyo: John Weatherhill, Inc.