วิสัยทัศน์ในมิติบริหารกับการบริหารงานวิชาการของครู โรงเรียนนาหลวง กรุงเทพมหานคร Vision in Administrative Dimensions and Academic Administration of Teachers Naluang School Bangkok

Main Article Content

วิชาญ เหรียญวิไลรัตน์
ธนกฤต รชตะศิรกุล
สิริกวินทร์ ครุฑครองพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับวิสัยทัศน์ในมิติบริหาร 2)ศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการ 3)  ศึกษาความสัมพันธ์วิสัยทัศน์ในมิติบริหารกับการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนนาหลวง ประชากรครั้งนี้ คือ ครูโรงเรียนนาหลวง จำนวน 170 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์โดยใช่ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson's Product Moment Correlation Coefficient)


          ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากเป็นเพศหญิง จำนวน 93 คน อายุ 30-40 ปี จำนวน 104 คน การศึกษาระดับระดับปริญญาตรี จำนวน 120 คน  ประสบการณ์ทำงานต่ำกว่า 10 ปี จำนวน 153 คน คิดเป็นร้อยละ  1) วิสัยทัศน์ในมิติบริหารโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อันดับที่ 1 คือด้านการสร้างวิสัยทัศน์ รองลงมา คือด้านการเผยแพร่วิสันทัศน์ และอันดับสุดท้ายคือด้านการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ 2) การบริหารงานวิชาการ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อันดับที่ 1 คือ ด้านการวัดผลประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน รองลงมา คือด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และอันดับสุดท้ายคือด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3) วิสัยทัศน์ในมิติบริหารกับการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนนาหลวง โดยภาพรวม มีค่าความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

How to Cite
เหรียญวิไลรัตน์ ว., รชตะศิรกุล ธ., & ครุฑครองพันธุ์ ส. (2023). วิสัยทัศน์ในมิติบริหารกับการบริหารงานวิชาการของครู โรงเรียนนาหลวง กรุงเทพมหานคร: Vision in Administrative Dimensions and Academic Administration of Teachers Naluang School Bangkok. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(2), 36–53. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/1969
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2561). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและวัสดุภัณฑ์.

ในตะวัน กำหอม.(2559).การวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 1.โรงพิมพ์ทีคอม.จังหวัดมหาสารคาม.วิทยาลัยทองสุข.กรุงเทพฯ.

มัธนา กามะ.(2564). คุณลักษณะและบทบาทของผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. สำนักงานบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์.มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ธนสาร บัลลังก์ปัทมา.(2563). รูปแบบการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา.ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ปิยพันธ์ ศิริรักษ.(2563). การบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น.

ช่อผกา นามวัน.(2562). ความพึงพอใจในการบริหารงานวิชาการของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนวัดทุ่งกระพังโหม อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม.วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : วิทยาลัยทองสุข.

ภาณุวัฒน์ กาศแก้ว.(2559). มิติวิสัยทัศน์ของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2.หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชนัญธิดา คำเอก.(2558). ความพึงพอใจในการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนของผู้ปกครองระดับประถมศึกษาโรงเรียนบ้านวังโคนเปือย อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย.วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : วิทยาลัยทองสุข.