ผลการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อด้านความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของเด็กปฐมวัย The Effects of Folk Play Activities on Empathy of Early Childhood Children

Main Article Content

ดารารัตน์ สะอาดม่วง

บทคัดย่อ

การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อด้านความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของเด็กปฐมวัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของเด็กปฐมวัย ที่เกิดจากการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน  2) เพื่อเปรียบเทียบความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน สมมติฐานทางการวิจัย คือ หลังการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กปฐมวัย มีพัฒนาการด้านความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นสูงกว่าก่อน การจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านหัวงัว (อุสุภราชวิทยาคาร) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตำบลกำแมด อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร จำนวน 1 ห้องเรียน 24 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาและรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ มี 2  ชนิด คือ 1) แผนการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อพฤติกรรมด้านความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของเด็กปฐมวัย จำนวน 20 แผนกิจกรรม 2) แบบประเมินพฤติกรรมด้านความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 25 ข้อ สรุปผลการศึกษา จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลสามารถสรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้ 1. พัฒนาการด้านความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูง 2. ผลการเปรียบเทียบพัฒนาการด้านความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของเด็กปฐมวัย หลังการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นสูง กว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
สะอาดม่วง ด. (2023). ผลการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อด้านความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของเด็กปฐมวัย: The Effects of Folk Play Activities on Empathy of Early Childhood Children. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(2), 181–197. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/2879
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). การศึกษาปฐมวัย 2560. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). กิจกรรมการเรียนการสอนเด็กปฐมวัยคละอายุ. กรุงเทพฯ : วาดศิลป์.

จิตราภรณ์ ทองกวด. (2554). การศึกษาและพัฒนาความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. ปริญญานิพนธ์ หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทิพวรรณ คันธา. (2542). การละเล่นพื้นบ้านของเด็กอีสาน. กรุงเทพฯ : คอมแพคท์พรินท์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2546). การจัดการศึกษาสําหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

รัชฏวรรณ ประพาน. (2541). การศึกษาความสามารถใช้กล้ามเนื้อใหญ่ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จากการฝึกโดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนทรวิโรฒประสานมิตร.

รัตนา ภูไชยแสง. (2550). การส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจและสังคมเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโพธิ์น้อย สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา หนองคาย เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาคุรุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม. (สําเนา).

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). การประเมินโครงการ : การวิจัยเชิงปริมาณ. กรุงเทพฯ : คอมแพคปริ๊น.

ศิริพร เลิศพันธ์. (2548). ผลการพัฒนาทักษะสังคมด้านการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมโภชน์ เอื่ยมสุภาษิต. (2549). ทฤษฏีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัย.

สิริพรรณ ตันติรัตน์ไพศาล. (2550). ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย. พิมพลักษณ์, กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

สุขุม เฉลยทรัพย์. (2553). รูปแบบการส่งเสริมการอ่านของเด็กปฐมวัยในทรรศนะของครูและผู้ปกครอง. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

สุภาภรณ์ สงนวน. (2551). การเปรียบเทียบทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านกับการจัดกิจกรรมแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อุบลรัตน์ เพ็งสถิต. (2546). จิตวิทยาพัฒนาการ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

อัจฉิมา อ่อนน้อม. (2549). ผลการใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของไทยต่อการพัฒนาสัมพันธภาพของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

ณัฐวุฒิ สังข์ทอง และคณะ. (2554). ผลการใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต :กรุงเทพฯ.

มณี ผ่านจังหาร. (2545). การสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน, วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ฟาลาตี หมาดเต๊ะ. (2557). ผลของการฝึกการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

Goleman, D. (1998). Working with emotional intelligence. New York : Bantum Book.