การเสริมสร้างเครือข่ายการต่อต้านการทุจริตโดยประยุกต์ใช้หลักธรรม ทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดร้อยเอ็ด Enhancing the Anti-Corruption Network by Applying Buddhist Principles in Roi Et Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเสริมสร้างเครือข่ายการต่อต้านการทุจริตโดยประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดร้อยเอ็ด 2) พัฒนารูปแบบการเสริมสร้างเครือข่ายการต่อต้านการทุจริตโดยประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดร้อยเอ็ด 3) ประเมินรูปแบบการเสริมสร้างเครือข่ายการต่อต้านการทุจริตโดยประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พระภิกษุ เจ้าหน้าที่ของรัฐ บุคลากรมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด และประชาชน จังหวัดร้อยเอ็ด รวม 350 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการเสริมสร้างเครือข่ายการต่อต้านการทุจริตโดยประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) รูปแบบการเสริมสร้างเครือข่ายการต่อต้านการทุจริตโดยประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดร้อยเอ็ด ประกอบด้วยปัจจัยนำเข้า (Input) ได้แก่ องค์กรภาครัฐ/เอกชน วัด บ้าน/ชุมชน โรงเรียน กระบวนการแปรสภาพ (Transformation Process) ได้แก่ การดำเนินงานตามวงจร PAOR และปัจจัยนำออก (Output) ได้แก่ เครือข่ายการต่อต้านการทุจริตโดยประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดร้อยเอ็ด 3) ความพึงพอใจต่อรูปแบบการเสริมสร้างเครือข่ายการต่อต้านการทุจริตโดยประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
พระครูศรีปริยัตยาภิมณฑ์, ยุทธนา ปราณีต, สวัสดิ์ จิรัฎฐิติกาล. (2565). การเสริมสร้างค่านิยมของประชาชนเพื่อต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบทางการเมืองในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม. 7(2), 163-174.
พระครูสังฆรักษ์วีรวัฒน์ วีรวฑฺฒโน, พระมหาวีรศักดิ์ สุรเมธี, กมล บุตรชารี. (2565). การศึกษาองค์ความรู้ในการต่อต้านทุจริตโดยใช้กิจกรรมและหลักธรรม ทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 7(9), 438-449.
มงคลชัย สมศรี, วิเศษ เสาะพบดี, ตระกูล ชำนาญ, วิราษ ภูมาศรี. (2565). รูปแบบการสร้างความเข้มแข็งในการต่อต้านทุจริต โดยใช้กิจกรรมและหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 7(2), 13-26.
สมชาย ชูเมือง. (2563). การเสริมสร้างเครือข่ายการต่อต้านการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสาร มจร พุทธปญญาปริทรรศน. 5(2), 190-202.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2561). พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2561. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.
Callal, V., & Ashworth, P. (2004). Working Together: Industry and VET Provider Training Partnerships. Retrieved 25 May 2023. from http://www.ncver.edu.au