รูปแบบความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการของบุคลากรทางการศึกษา สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร Model of Success in Academic Administration of Educational Personnel Education Bureau Bangkok

Main Article Content

ณัฏฐพล ขาวเอี่ยม
ในตะวัน กำหอม
จุมพล วงศ์ษร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการ 2) ศึกษารูปแบบความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการ 3 ) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการ ของบุคลากรทางการศึกษาสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน


          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบบเป็น 2 กลุ่ม คือ บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 385 คน โดยใช้การกำหนดขนาดตัวอย่างของ ทาร์โร่ ยามาเน่  เก็บรวบรวมข้อมูลระยะที่ 1 โดยใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้นำนวยการสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา  รวมทั้งหมด 6 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และระยะที่ 3  โดยใช้แบบประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการศึกษาพบว่า สภาพการบริหารงานวิชาการ ของบุคลากรทางการศึกษาสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมนั้นอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาตามรายด้าน โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย พบว่าอันดับที่ 1 คือ  ด้านผู้บริหารสถานศึกษา  รองลงมาคือด้านผู้ปกครองและชุมชน  ด้านสถานศึกษา  และอันดับสุดท้าย คือด้านครูผู้สอน ตามลำดับ และจากการสนทนากลุ่มพบว่ารูปแบบความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการ ของบุคลากรทางการศึกษาสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร โดยรูปแบบที่มีความเหมาะสมประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ  ด้านผู้บริหารสถานศึกษา  ด้านครูผู้สอน ด้านสถานศึกษา ด้านผู้ปกครองและชุมชน ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการ ของบุคลากรทางการศึกษาสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
ขาวเอี่ยม ณ., กำหอม ใ., & วงศ์ษร จ. (2024). รูปแบบความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการของบุคลากรทางการศึกษา สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร: Model of Success in Academic Administration of Educational Personnel Education Bureau Bangkok. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 6(1), 463–478. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/4434
บท
บทความวิจัย

References

คัมภีร์ สุดแท้.(2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการสาหรับโรงเรียนขนาดเล็ก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 4(2), 127-136.

ธัญดา ยงยศยิ่ง.(2560). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ยะลา เขต 3. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.

ธีระภาพ เพชรมาลัยกุล.(2562). รูปแบบการบริหารงานวิชาการและการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะและทักษะในศตวรรษที่ 21 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน: การวิเคราะห์เชิงปริมาณผสานเชิงคุณภาพ. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 11(1), 126-145.

นฏกร ปั้นพุ่มโพธิ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7.วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13(1), 1- 3.

นิธวัฒน์ อินทสิทธิ์.(2563). ปัจจัยเชิงสาเหตุแบบพหุระดับของประสิทธิผลการบริหารวิชาการ ของโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในกรุงเทพมหานคร.หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.

ในตะวัน กำหอม.(2559). การวิจัยทางการศึกษา.เล่ม 1.โรงพิมพ์ทีคอม.จังหวัดมหาสารคาม.กรุงเทพฯ:วิทยาลัยทองสุข.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์.(2553). การบริหารงานวิชาการ.พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริม.

สมฤทัย ล้อแก้วมณี.(2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการบริหารงานวิชาการวิทยาลัยการอาชีพและวิทยาลัยสารพัดช่างในภาคตะวันออก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 22(3), 275-287.

สิรพงศ์ พงศ์เชื้อทอง และ พงษ์ศักดิ์ รวมชมรัตน์. (2566). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษากาญจนบุรี.วารสารนวัตการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 13-24.

อรชร วรรณสอน. (2563). อนาคตดภาพการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนสังกัดเทศบาล ทักษะผู้เรียนใน ศตวรรษที่ 21. สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปกร.

อรอัยริน เลิศจิรชัยวงศา, ลนดา นาคโปย และกัญภร เอยมพญา. (2564). ทักษะการบริหารของ ผู้บริหารที่สงผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 22 (1), 270–271.

Kijai, J.(1987).School : Effectiveness Characteristics and School Incentive Reward. Dissertation Abstracts International. 48(04), 329-A.

Reid, K., David, H., & Peter, H.(1988).Towards the effective school: The problem and some solutions. Oxford: Basil Blackwell.

Ruhl, M.L.(1985).The Development of a Servey of School Effectiveness Climate,. Principal Leadership. Dissertation Abstracts International. 46(11), 3216-A.