การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนามนุษย์ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่มาจากกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ซึ่งมีแนวคิดให้ประชาชนชาวไทยมีความพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันตัวที่ดี โดยอาศัยความรอบรู้และต้องมีคุณธรรม กำหนดให้คนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา ซึ่งมีแนวคิดที่สอดคล้องกับเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์ที่มุ่งศึกษาการลงทุนในคน ให้กลายเป็นทุนมนุษย์ที่สามารถผลิตสินค้าและบริการได้เพิ่มขึ้น ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยังลงทุนพัฒนาคนเพื่อเพิ่มทุนทางสังคม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาเชิงประยุกต์ที่สามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้ในหลายๆ มิติ ทางสังคม ไม่ใช่เพียงภาพที่สื่อสร้างและสังคมเข้าใจว่าเป็นไปในเรื่องของการเกษตร ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ เพื่อยังชีพอย่างประหยัด แต่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักยึดสำคัญที่เป็นรากฐานของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในทุกระดับทุกความแตกต่างให้เกิดความก้าวหน้าอย่างยั่งยืนเป็นเรื่องของการมีคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะความพอเพียงเป็นกระบวนการคิดที่อาศัยความรอบรู้รอบคอบระมัดระวังในการนำหลักคิดที่หลากหลายมาใช้เพื่อสร้างการพัฒนาด้านต่างๆควบคู่ไปกับความสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตยและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสมเกิดสติปัญญาอันจะส่งผลให้เกิดความสมดุลและพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลาทั้งด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อมวัฒนธรรมวิถีการดำเนินชีวิตและสังคม
Article Details
References
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฯ (2550). เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร. พิมพ์ครั้งที่3.ปทุมธานี: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
มยุรี เสือคำราม, ดร.สมศักดิ์ ลิลำ. (2555). เศรษฐกิจพอเพียงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทรัพยากรมนุษย์ Sufficiency Economy Development Science.วารสารนักบริหาร ปีที่ 32 ฉบับที่ 3 (ก.ค.-ก.ย. 2555).
กีรติ บุญเจือ. (2546). เริ่มรู้จักปรัชญา เล่ม 1 ในชุด ปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.
ตรี บุญเจือ. (2559). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับความท้าทายใหม่ของการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์วิเคราะห์ ประเมิน และพัฒนา. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ที่มา : www.portal.nurse.cmu.ac.th.)
สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ. (2550). เศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนา.ทุนมนุษย์. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย, 3 (2), 19-27.
มยุรี เสือคำราม. (2546). การเปรียบเทียบประสิทธิภาพและระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างเกษตรกรรมแนวเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรกรรมกระแสหลัก(ปริญญานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).