พนักงานสอบสวนในอุดมคติของประชาชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การสอบสวนของพนักงานสอบสวนนั้น มีมากมายหลายประการ เริ่มตั้งแต่การรับแจ้งความร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนจะต้องพิจารณาว่าตนเองมีอำนาจรับคำร้องทุกข์ทำการสอบสวนหรือไม่ เมื่อพิจารณาแล้วว่ามีอำนาจรับคำร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนจะต้องทำการสอบสวนโดยมิชักช้า และจะต้องทำการสอบสวนต่อเนื่อง และเป็นธรรมไปจนสรุปสำนวนและส่งให้อัยการพิจารณาตามกฎหมาย ซึ่งขั้นตอนในการปฏิบัติของพนักงานสอบสวน รัฐธรรมนูญ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากฎหมายอาญา และระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดีได้กำหนดอย่างชัดเจนและเหมาะสม เป้าหมายของการสอบสวนคือการรวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิด เพื่อให้ได้ความจริงที่ถูกต้องที่สุดน่าเชื่อถือที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อเป็นการให้หลักประกันแก่ผู้ถูกกล่าวหาและสังคม การสอบสวนของพนักงานสอบสวน จึงมีความสำคัญในการดำเนินการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน
หลักธรรมที่พนักงานสอบสวนต้องมีในการพิจารณาสอบสวนนั่นก็คือหลักพรหมวิหารธรรม หลักพรหมวิหารธรรม 4 ประกอบด้วย เมตตา คือ ความรัก กรุณา คือ ความสงสาร มุทิตา คือ พลอยยินดี และอุเบกขา คือ ความวางเฉย คุณธรรม 4 ประการเปรียบเหมือนจิตบิดามารดาที่มีต่อบุตรธิดา 4 คน คือคนเล็กต้องใช้เมตตา ลูกป่วยต้องใช้กรุณา ลูกสำเร็จความดีใช้มุทิตา และลูกมีอันเป็นไปสุดวิสัยจริงๆ ต้องใช้อุเบกขา นอกจากนั้นต้องปราศจากความลำเอียง ด้วยอำนาจความรัก ความโกรธ ความหลงและความกลัว ส่วนหลักฆราวาสธรรม คือ ธรรมของคฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือน 4 ประกอบ สัจจะ คือ ความซื่อสัตย์ และความจริงใจ ทมะ คือ การข่มใจตนเข้ากับคนอื่นด้วยเหตุผล ขันติ คือ ความอดทน และจาคะ คือ การเสียสละ ดังนั้น การนำหลักธรรมทางพุทธศาสนามาใช้ในการปฏิบัติงาน จึงเป็นการพัฒนางานด้านการสอบสวนของพนักงานสอบสวน ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลแก่ประชาชนและสังคมสืบไป
Article Details
References
กรมการศาสนา. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับสยามรัฐเล่มที่ 10,15. พระนคร : โรงพิมพ์กรมการศาสนา, 2500.
กรมตำรวจ, “คำสั่งกรมตำรวจ ที่ 774 / 2537 เรื่อง การกำหนดหน้าที่การงานของตำแหน่งในสถานีตำรวจ”, 2537 (อัดสำเนา).
พ.ต.อ.ชัชวาล สุขสมจิตร์, “เอกสารบรรยาย กฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวน”, งาน 2 ฝ่ายฝึกอบรม สถาบันส่งเสริมงานสอบสวน กองบัญชาการศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ”, 2541.
ระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี, ประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี เล่ม 1 ตอน 2 ลักษณะที่ 8 บทที่ 1 ข้อ 208, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมตำรวจ, 2525.
ชัยทัศน์ รัตนพันธุ์, “ปัญหาการอำนวยความยุติธรรมในการสอบสวนคดีอาญา ศึกษากรณี กองบัญชาการตำรวจนครบาล”, วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537.
ไสว ลอบลัด, “ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการสอบสวนของพนักงานสอบสวน ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างสถานีตำรวจนครบาลกับสถานีตำรวจภูธร”, สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกริก), 2545.
แสวง ธีระสวัสดิ์, หลักการสืบสวนสอบสวนคดีอาญา, กรุงเทพฯ : ฝ่ายป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม กรมตำรวจ 2530.
สง่า ดวงอัมพร และ ประดิษฐ์ กล้าณรงค์, การสืบสวนสอบสวน ภาควิชากฎหมายวิธีสบัญญัติ, กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2531.
สมชาย พงษ์พัฒนาศิลป์ และเผ่าพันธุ์ ชอบน้ำตาล. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, กรุงเทพฯ : เจริญรัตน์การพิมพ์, 2552.